อาการหลงลืมบ่อย ๆ อย่าคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติเสมอไป เพราะคุณหรือคนใกล้ตัวที่มีอาการเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ อาจกำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์อยู่ก็ได้ หลายคนมักจะคิดว่าอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไกลตัว เกิดขึ้นได้ยาก และไม่อันตรายเท่าโรคอื่น ๆ ดังนั้นวันนี้บทความของเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคอัลไซเมอร์ให้มากขึ้น ว่าโรค อัลไซเมอร์คืออะไร อันตรายแค่ไหน เกิดจากสาเหตุใด อัลไซเมอร์อาการเป็นอย่างไร รักษาอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วอย่ารอช้า รีบตามไปดูสาระดี ๆ กันได้เลยค่ะ
อัลไซเมอร์คืออะไร
โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อในสมอง ซึ่งเกิดจากโปรตีนเบต้า-อะไมลอยด์ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ เกาะหรือจับกับเซลล์สมองระยะเวลานานจนทำให้เนื้อเยื่อสมองบริเวณนั้น ๆ เสื่อมสภาพลงในที่สุด ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีประสิทธิภาพในการจดจำ การคิด การตัดสินใจ และการเรียนรู้ได้น้อยลงกว่าปกติ
อัลไซเมอร์มีกี่ระยะ
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะมีการวินิจฉัยทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้
1. อัลไซเมอร์ระยะแรก
ผู้ป่วยจะมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ แต่อาจจะมีบางช่วงที่นึกคิดกลับมาได้บ้าง ในระยะแรกจะสังเกตได้ค่อนข้างยากว่าเป็นอาการอัลไซเมอร์จริง ๆ หรือเป็นอาการหลงลืมทั่ว ๆ ไปที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนปกติ แต่จะมีอาการที่เด่นชัดขึ้นมาคือมักพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ หรือทำเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ในเวลาผ่านไปไม่นาน ซึ่งอาการนี้จะต้องเป็นผู้อยู่รอบข้างเป็นคนสังเกต เพราะเจ้าตัวมักจะจำไม่ได้ว่าตนเองพูดหรือทำเรื่องนี้ไปแล้ว
2. อัลไซเมอร์ระยะกลาง
ระยะนี้จะเริ่มสังเกตได้อย่างชัดเจน คือผู้ป่วยจะมีนิสัยและอารมณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม จะเริ่มแสดงออกถึงอารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าวมากขึ้น สมาธิสั้น ความจำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัดมากกว่าระยะแรก หลงลืมและไม่สามารถนึกคิดกลับมาได้ว่าเคยทำอะไรไปบ้าง
3. อัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย
ระยะนี้จำเป็นจะต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาอย่างไม่คลาดสายตา เพราะผู้ป่วยระยะสุดท้ายมักจะไม่สามารถช่วยเหลือเองได้ และมีความจำที่สั้นมาก ๆ สามารถหลงลืมได้ภายใน 1 นาที ผู้ป่วยมักมีอาการซึม พูดจาเลอะเลือน บางรายมีภาพหลอน บางรายนอนติดเตียงอย่างเดียว บางรายไม่ทานอาหาร โวยวายจนร่างกายอ่อนแอและเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ในที่สุด
อาการแบบไหนที่กำลังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์
ใครที่กำลังสงสัยว่าผู้สูงอายุในบ้านสุ่มเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์อยู่ ให้ลองสังเกตอาการดังต่อไปนี้และหากมีอาการตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไปควรรีบนำตัวเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที
- อาการหลงลืมในสิ่งที่เคยทำเมื่อไม่นาน เช่น ซักผ้าทิ้งไว้ในเครื่องแต่ลืมไปตาก เปิดประตูบ้านทิ้งไว้ทั้งวันลืมปิด หรือเดินออกจากบ้านแต่ไม่รู้ว่าจะไปทำอะไร
- สับสนเรื่องเวลา บางรายอาจมีอาการหนักถึงขั้นไม่รู้วันไม่รู้คืน
- มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร มักพูดเรื่องเดิมหลาย ๆ รอบ สื่อสารลำบาก เรียบเรียงคำพูดช้า
- อาการเศร้า ไม่พูดไม่จา หรือมีอาการซึมมากกว่าปกติที่เคยเป็น
- ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ เช่น ฉี่ราดโดยที่ไม่ยอมลุกไปเข้าห้องน้ำ
- บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง มีพฤติกรรมแปลก ๆ และอารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์เกิดได้จากหลายขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่ามีปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดโรคได้บ้าง ซึ่งแต่ละคนก็จะมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป แต่สาเหตุหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยในการเกิดอัลไซเมอร์ มีดังต่อไปนี้
1. พันธุกรรม
ผู้ที่เคยมีพ่อแม่ หรือญาติสายเลือดเดียวกันที่เคยป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มาก่อน มักมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน
2. การได้รับอุบัติเหตุ
อุบัติที่เหตุที่กระทบกระทั่งบริเวณศีรษะอย่างรุนแรงอาจก่อให้เกิดการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อในสมอง จนเกิดภาวะหลงลืมชั่วขณะ และหากสมองได้รับการบาดเจ็บอย่างรุนแรงก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ได้
3. ผลกระทบจากโรคอื่น ๆ
โรคอัลไซเมอร์สามารถเป็นโรคแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่นดาวน์ซินโดรม ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมมักมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นอัลไซเมอร์แม้ไม่ต้องอายุมากก็ตาม เพราะผู้ป่วยโรคนี้มักมีการสะสมของปริมาณโปรตีนชนิดไม่ละลายน้ำในสมองมากกว่าคนปกติ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอัลไซเมอร์ได้ง่าย หรือโรคหลอดเลือดในสมองที่อาจส่งผลทำให้เกิดอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกัน
การรักษาอัลไซเมอร์
ปัจจุบันอัลไซเมอร์มีการรักษา 2 วิธีควบคู่กันไป ดังต่อไปนี้
1. การทานยา
ผู้ป่วยจะได้รับการยับยั้งการทำลายสารสื่อประสาทในสมอง เพื่อประคองอาการไม่ให้เป็นหนักขึ้น ซึ่งยามีหลายชนิดอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาว่าจะจ่ายยาขนานใดให้กับผู้ป่วยตามอาการ
2. การกายภาพบำบัด
การกายภาพบำบัดจำช่วยบำบัดรักษาเรื่องพฤติกรรม การพูด ความคิด การจดจำ ทำให้ผู้ป่วยอาการกลับมาใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างใกล้ชิดมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะผู้ป่วยบางรายมักมีอาการหลงลืมจนอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่นการเปิดแก๊สหุงต้มทิ้งไว้เป็นเวลานานจนก่อให้เกิดไฟไหม การเสียบปลั๊กเตารีดไว้และลืมถอด ดังนั้นผู้ดูแลควรดูแลอย่างไม่ให้คลาดสายตา และหมั่นทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยเสมอ จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้เป็นระดับ ฝึกการคิด การพูด และที่สำคัญตั้งจัดยาให้ผู้ป่วยทานตรงเวลาตามที่หมอสั่ง เพื่อไม่ให้เกิดอาการดื้อยาตามมา
สำหรับใครที่มีผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่บ้าน แต่ไม่มีคนดูแลหรือไม่ว่างดูแล อย่าเพิ่งเป็นกังวลไปค่ะ สามารถเรียกใช้บริการนักกายภาพบำบัด Becos ของเราได้เลย บริการกายภาพบำบัดและดูแลผู้ป่วยที่บ้านอย่างถูกหลักโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ หากสนใจสามารถติดด่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ Facebook ได้เลยค่ะ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
สมองเสื่อมกับอัลไซเมอร์ต่างกันอย่างไร
สมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ แม้จะมีอาการคล้ายกันแต่มีความแตกต่างกันตรงที่ โรคอัลไซเมอร์จะเกิดจากความเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อในสมอง แต่โรคสมองเสื่อมปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่มักจะเกิดขึ้นหลังจากเป็นอัลไซเมอร์มายาวนาน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นผลพวงมาจากโรคอัลไซเมอร์นั้นเองค่ะ ซึ่งอาการจะหนัก
อัลไซเมอร์รักษาหายไหม
อัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ช่วยบรรเทาอาการของโรคให้น้อยลงได้โดยการทานยาแก้อัลไซเมอร์สม่ำเสมอและทำกายภาพบำบัด
อัลไซเมอร์ อยู่ได้กี่ปี
อัลไซเมอร์ไมได้ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดอาการแทรกซ้อนจากโรคอัลไซเมอร์จนทำให้ถึงชีวิตได้ เช่น เป็นอัลไซเมอร์จนติดเตียง ก่อให้เกิดแผลกดทับ ติดเชื้อเป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นได้ใน 2-10 ปีหลังจากที่เป็นอัลไซเมอร์นั้นเอง