084-458-4591

อาการปวดหลังอย่ามองข้าม ปวดหลังแบบไหนอันตรายต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน!

เนื้อหาบทความนี้

อาการปวดหลังเป็นอาการที่ใครหลายคนมองข้าม เพราะคิดว่าเป็นอาการที่อยู่ไม่นานหรืออาจหายเองได้ แต่หารู้ไม่ว่าหากใครที่มีอาการปวดหลังอย่ามองข้ามเป็นอันขาด โดยเฉพาะการปวดมาเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้เรื้อรังและรักษาหายได้ยาก ใครที่อยากรู้ว่าอาการปวดหลังแบบไหนมีความอันตรายและควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เรามีคำตอบให้ในบทความนี้แล้วค่ะ

อาการปวดหลังเกิดจากสาเหตุใดบ้าง?

สาเหตุของอาการปวดหลังเกิดจากการใช้งานบริเวณส่วนหลังที่ไม่ถูกท่าหรือใช้งานที่หนักเกินไป ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ และส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังได้ ซึ่งอาการบาดเจ็บเหล่านี้เกิดจาก

1. ปวดหลัง จากการยกของหนัก

มักเป็นอาการของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ได้รับการบาดเจ็บ หรือเส้นเอ็นยึดจึงทำให้มีอาการปวดหลัง หรือส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังเกิดความผิดปกติ บางรายมีอาการปวดหลังร่วมกับมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเส้นประสาทมีความผิดปกติ

2. ปวดหลัง กระดูกทับเส้น

เป็นอาการที่เกิดจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูก หรือการปลิ้นออกมาของหมอนรองกระดูก และหากมีการเคลื่อนกดทับเส้นประสาท จะทำให้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขาร่วมกับมีอาการชา หรือเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้

อาการปวดหลังแบบไหนที่มีความอันตราย

อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่อง และมีอาการปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ติดกัน 4 สัปดาห์ หรืออาการปวดดังต่อไปนี้

1. ปวดหลังขวา

อาการปวดหลังด้านซ้ายหรือปวดหลังด้านขวา สาเหตุมาจากกล้ามเนื้อหลังมีความผิดปกติผิดปกติ หรือข้อต่อกระดูกส่วนอก กระดูกซี่โครงอ่อนเกิดการอักเสบ หรือได้รับอุบัติเหตุจากการกระแทก อีกทั้งยังเกิดจากการเกร็งหรือยกของหนัก หากมีอาการรุนแรงอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอก โรคไต เยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือมีปัญหาทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ

2. ปวดหลังตรงกลาง

หากมีอาการปวดหลังตรงกลาง ให้สงสัยได้เลยว่าอาจมีความเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้น เนื่องจากสาเหตุมาจากการยกของหนัก การออกกำลังกายผิดท่า หรือการนั่งนาน ๆ บางรายหากกดตามแนวกล้ามเนื้อจะรู้สึกเจ็บลึก ๆ จนทำให้มีอาการปวดหลังส่วนล่างและปวดสะโพกตามมา บางรายถึงกับมีอาการปวดร้าวลงไปที่ต้นขาด้านหลัง และมีอาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย

3. อาการปวดหลังส่วนบน

เป็นอาการที่เกิดร่วมกับอาการปวดคอ โดยมีสาเหตุมาจากการใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ๆ การก้มเล่นมือถือ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม จนทำให้เกิดอาการเรื้อรัง

4. ปวดหลังช่วงเอว

หรือเรียกว่าอาการปวดหลังส่วนล่าง เป็นอาการที่มักจะมาพร้อมกับโรคที่พบได้บ่อย เช่น โรคเอ็นกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท โรคช่องบรรจุไขสันหลังตีบ เป็นต้น

ปวดหลังแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์

อาการปวดหลังเป็นอาการที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาไม่ให้เกิดความรุนแรงไปมากกว่าเดิม ได้แก่

1. ปวดหลังจนนอนไม่ได้

เป็นอาการที่ทำให้นอนหลับไม่สนิทเพราะมีอาการปวดอย่างรุนแรง หากใครที่มีอาการปวดหลังขยับตัวไม่ได้จนนอนไม่ได้หรือต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง

2. ปวดหลัง จี๊ดๆ ตรงกลาง

หากมีอาการรู้สึกชาหรือแปล๊บ ๆ บริเวณหลังส่วนกลาง อาจมาจากการที่เส้นประสาทถูกกดทับ ทำให้เกิดอาการปวดจี๊ดในบริเวณนั้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

3. ปวดหลัง งอตัวไม่ได้

เป็นอาการปวดหลังในส่วนของกล้ามเนื้อหลังตึงหรือมีอาการหลังแข็ง จนทำให้งอตัวไม่ได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในตำแหน่งหลังชายโครงไปถึงหลังส่วนล่าง ซึ่งในบางกรณีอาจมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขา และเป็นปัญหาสำคัญของอาการปวดหลังส่วนล่าง จนทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และอาจเกิดโรคร้ายแรงตามมา เช่น โรคของเอ็นและกล้ามเนื้อหลัง โรคเกี่ยวกับการผิดรูปของกระดูกสันหลัง โรคช่องกระดูกสันหลังตีบ เป็นต้น

หากใครที่มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยทันที หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดโรคร้ายแรงตามมาได้ เนื่องจากอาการปวดหลังบางคนจะคิดว่าหายเองได้ จนทำให้เกิดอาการรุนแรงในภายหลัง ดังนั้นหากใครที่มีอาการปวดหลังไม่หาย สามารถเข้ารับการกายภาพบำบัดได้ที่ BECOS เพราะที่นี่สามารถช่วยดูแลในเรื่องของการกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดี หากใครที่มีความสนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ BECOS : บริการจัดส่งนักกายภาพบำบัด ไปที่บ้านและองค์กร

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ปวดหลัง ควรทําอย่างไร

หากใครที่เริ่มมีอาการปวดหลัง ควรรีบเข้าไปปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยลดอาการปวดและบรรเทาอาการอักเสบได้อย่างทันท่วงที เพื่อไม่ให้เกิดภาวะรุนแรงตามมา และควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมหรือท่าทางที่จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อหน้าท้องและแผ่นหลัง เช่น ไม่ยกของหนัก หรือหากนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ ควรมีการเปลี่ยนท่าอยู่บ่อยครั้ง

ปวดหลังช่วงเอวกี่วันหาย

อาการปวดเอวจะหายไปเองตามธรรมชาติ หากทำการกายภาพหรืองดในกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ โดยจะหายภายในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วแต่อาการของแต่ละบุคคล แต่หากยังคงมีอาการอยู่เป็นระยะเวลาร่วมเดือน ถือเป็นสัญญาณเตือนของอาการเรื้อรัง ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที