การกายภาพ คือ การรักษาอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะปวดกล้ามเนื้อและกระดูก หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของทางร่างกาย โดยมีทั้งเครื่องมือกายภาพบำบัด เทคนิคต่าง ๆ ธาราบำบัด หรือการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อเพื่อการฟื้นฟูและช่วยให้ร่างกายแข็งแรง วันนี้เรามีความรู้ในการกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ร่วมกับการบริหารร่างกาย จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ตามไปชมกันเลย
กายภาพกิจกรรมบําบัดคืออะไร?
กิจกรรมกายภาพบําบัด คือ การใช้กิจกรรมที่ช่วยเป็นสื่อกลางในการบำบัดรักษาผู้ป่วยเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ ทานข้าว หรือกิจวัตรประจำวันเป็นต้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด ที่คอยให้คำปรึกษาและช่วยทำการกายภาพ โดยนักกายภาพบำบัดจะเน้นรักษาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ อาจจะใช้อุปกรณ์ทางการกายภาพบำบัดเข้ามาช่วย ส่วนนักกิจกรรมบำบัดจะเน้นการรักษาที่หลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็ก การใช้ความคิดความเข้าใจ หรือบำบัดจิตใจ อารมณ์และพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
ปัจจัยด้านกายภาพคืออะไรและมีอะไรบ้าง?
ปัจจัยด้านกายภาพ คือ ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมักมีสาเหตุมาจาก สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ จึงส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ อีกทั้งยังรวมไปถึงมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม โดยการที่ผู้ต้องทำกายภาพนั้นมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุของผู้ป่วย อาการและความรุนแรงของอาการ เป็นต้น ซึ่งการทำกายภาพบำบัดนั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ
กายภาพบำบัดพื้นฐานเพื่อช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย
การกายภาพเบื้องต้นจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและลดอาการเจ็บปวด อีกทั้งยังช่วยในการเคลื่อนไหวในส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น เพราะการกายภาพโดยส่วนใหญ่แล้วจะช่วยฟื้นฟูร่างกายและช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อของผู้ป่วย เช่น ผู้ที่เริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นปวดบ่า ปวดแขน ปวดหลัง ปวดเข่า ชาลงแขน ผู้ป่วยข้อไหล่ติด ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม เป็นต้น
การทำกายภาพบําบัดมีอะไรบ้าง
สำหรับการทำกายภาพบำบัดนั้นค่อนข้างกว้าง ดังนั้นการที่ผู้ป่วยจะทำกายภาพต้องรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร หรือมีอาการอย่างไรมา จึงจะช่วยทำให้นักกายภาพบำบัดรักษาได้ถูกวิธี โดยการกายภาพบำบัดนั้นมีหลากหลายวิธี เช่น
1. กระตุ้นไฟฟ้า กายภาพสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง
เนื่องจากการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าบำบัด จะเป็นการช่วยสร้างคลื่นที่มีความแม่นยำสูง สามารถกระตุ้นได้นานโดยไม่มีผลแทรกซ้อน ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่นำมาใช้ในการรักษาทางกายภาพจะใช้เป็นคลื่นความถี่ต่ำ จึงทำให้มีความรู้สึกสบายตัวและไม่เป็นอันตราย อีกทั้งยังสามารถช่วยรักษาปัญหากล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลดอาการปวดหรือกล้ามเนื้อบวม และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้เป็นอย่างดี
2. กายภาพบำบัดกล้ามเนื้อและกระดูก
ช่วยลดอาการบาดเจ็บในส่วนของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูจากอาการบาดเจ็บเฉียบพลัน หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดบวมตามร่างกาย เช่น ปวดไหล่ บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ข้อเสื่อม ออฟฟิศซินโดรม หรือจะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและการเพิ่มการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น
3. กายภาพบําบัดระบบประสาท
เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน โรคเส้นเลือดในสมองตีบหรืออุดตัน โรคเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งจะต้องทำการกายภาพโดยนักกายภาพบำบัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีพัฒนาการที่ดีขึ้นและเติมเต็มในส่วนที่เสียไป
4. กายภาพบำบัดระบบหัวใจและหลอดเลือด
เป็นการกายภาพสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจและปอดโดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้วิธีการระบายของเสียออกจากปอด และช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดหัวใจ
5. กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเด็กและผู้สูงอายุ
สำหรับผู้ป่วยเด็กจะเน้นการเพิ่มทักษะการควบคุมกล้ามเนื้อ การทรงตัว ช่วยในการพัฒนาสมอง และผู้ป่วยสูงอายุจะเน้นในเรื่องของการกายภาพบำบัด และฝึกให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น เพื่อลดอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และช่วยเพิ่มสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรงขึ้น
การทำกายภาพบำบัดมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีภาวะต่าง ๆ ตามที่กล่าวมานั้น ซึ่งถ้าหากร่างกายมีความบกพร่อง เช่น มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อติดแข็ง ปวดไหล่ หรือมีอาการออฟฟิศซินโดรม หากไม่รีบทำการรักษาหรือทำกายภาพบำบัดอาจทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้น หากผู้ป่วยท่านใดมีอาการดังกล่าวและอยากทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถใช้บริการนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในทุก ๆ ด้านที่ BECOS หากใครสนใจและอยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ BECOS : บริการจัดส่งนักกายภาพบำบัด ไปที่บ้านเเละองค์กร
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
กายภาพบําบัด มีกี่ประเภท
การทำกายภาพบำบัดสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
1. กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (orthopedic)
2. กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเด็ก(Pediatric)
3. กายภาพบำบัดหลอดเลือดและหัวใจ(Cardiopulmonary)
4. กายภาพบำบัดผู้สูงวัย(Geriatric)
5. กายภาพบำบัดด้านระบบประสาท(Neurological)
กายภาพบําบัด วันละกี่ครั้ง
การรักษาโดยการกายภาพบำบัดควรใช้เวลาครั้งละ 1-1.5 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้รับการกระตุ้น อีกทั้งผู้ป่วยยังสามารถทำกายภาพบำบัดต่อเนื่องได้ทุกวัน หรือถ้าหากไม่มีเวลา ควรทำการกายภาพอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ และหากมีอาการที่ดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถทำการกายภาพบำบัดนาน ๆ ครั้งได้ หรืออาจขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยหรือขึ้นอยู่กับคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด