ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ จะอยู่ในภาวะของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากการที่เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงเพียงพอหรือผิดปกติ จึงทำให้เกิดการสะสมไขมันบริเวณหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดมีความหนาขึ้น ทำให้เซลล์สมองบริเวณนั้นเกิดความเสียหาย อวัยวะและระบบภายในร่างกายบางส่วนไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้อเกิดอาการปากเบี้ยว มองเห็นไม่ชัด หรือรุนแรงถึงขั้นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ สาเหตุที่ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต นั้นผู้ป่วยมักมีอาการผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตกเฉียบพลัน และเข้ารับการรักษาไม่ทัน ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนถึงขั้นเสียชีวิตกะทันหัน เพราะเกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไหลไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้สมองขาดเลือด โดยส่วนใหญ่อาการผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบมักจะเกิดในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป เพราะเป็นช่วงวัยที่เครียดกับการทำงานและใช้สมองหนัก จึงเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่เกิดโรคเส้นเลือดในสมองตีบได้
ทำความรู้จักกับอาการผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบที่ไม่ควรมองข้าม
เส้นเลือดในสมองตีบ อาการเริ่มแรกมักจะค่อย ๆ เป็นจนอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ ถึงขึ้นเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ดังนั้นควรสังเกตอาการต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาทัน
- เส้นเลือดในสมองตีบ อาการเริ่มแรกจะมีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น อาการชาที่ใบหน้า ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หนังตาตก มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น ไม่มีแรงเคี้ยวข้าวหรือกลืนลำบาก
- แขนขาอ่อนแรง อาจจะมีอาการเป็นครึ่งซีก แขนหรือขาชา
- มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง โดยที่หาสาเหตุไม่พบ หรือมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน
- ซึมลง ไม่รู้สึกตัว เรียกไม่ค่อยได้ยิน
- มีอาการเดินเซ การทรงตัวไม่ดี หกล้มบ่อย
วิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบและแนวทางการดูแลผู้ป่วย stroke ที่บ้าน สามารถทำได้ง่าย ๆ
การดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบที่ดูแลตัวเองไม่ได้นั้น โดยหลัก ๆ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แล้วต้องทำการรักษา ห้ามหยุดยาหรือปรับยาเองโดยเด็ดขาด วิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบง่าย ๆ ที่บ้าน สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. ทำอาหารผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบทานโดยเฉพาะ
วิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบโดยการเน้นทำอาหารที่มีส่วนประกอบของโอเมก้า 3 สูง ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลา ปลากะพงขาว เป็นต้น รวมทั้งโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้หรือนมไขมันต่ำ และเลือกใช้วิธีการปรุงอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันให้น้อยที่สุด เช่น ต้ม นึ่ง ย่าง แทนการทอดหรือผัด และควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใย เพื่อช่วยในเรื่องของระบบการขับถ่าย เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว เนื่องจากใยอาหารที่อยู่ในผักและผลไม้จะช่วยลดการดูดซึมไขมันได้
ควรหลีกเลี่ยงน้ำหวานหรือขนมที่มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลในปริมาณมาก เพราะคาร์โบไฮเดรตเป็นสารที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่าย หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง สะสมเป็นไขมันอยู่ตามหลอดเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอย่างต่อเนื่องจากการกินอาหารที่มีดัชนี้น้ำตาลสูงหรือคาร์โบไฮเดรตที่ขัดขาวหรือน้ำตาล จะทำให้หลอดเลือดแข็ง ขาดความยืดหยุ่น ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้โดยเฉพาะอาหารจำพวกเนื้อสัตว์แปรรูป หรือเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารเพราะมีปริมาณโซเดียมสูง เช่น ไส้กรอก ชีส โยเกิร์ต เบคอน หมูยอ เป็นต้น
2. ดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบโดยการกายภาพ
การกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบเป็นวิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบในเชิงของการรักษาที่สามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพที่สำคัญของร่างกายและยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนให้กับผู้ป่วยได้อีกด้วย หลัก ๆ แล้วการกายภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบสามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้านดังนี้
- การฝึกการทรงตัวให้กับผู้ป่วย เพื่อเพิ่มการรับความรู้สึกของการเคลื่อนไหว ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาแข็งแรงได้
- การฝึกหายใจให้กับผู้ป่วย เพื่อช่วยฝึกให้ผู้ป่วยหายใจค่อย ๆ หายใจ ซึ่งจะไม่ทำให้เหนื่อยง่าย
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันหรือช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด
เส้นเลือดในสมองตีบรักษาอย่างไร
การรักษาโรคเส้นเลือดในสมองตีบ หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะมีโอกาสของการรอดชีวิตและสามารถช่วยลดความเสี่ยงของอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสให้สมองกลับมาทำงานเป็นปกติ โดยจุดมุ่งหมายในการรักษาผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ คือ ทำให้หลอดเลือดสมองกลับมาไหลเวียนได้อย่างปกติ ซึ่งมีหลากหลายวิธีในการรักษา เช่น ให้ยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำ เนื่องจากตัวยาจะทำปฏิกิริยาในการละลายลิ่มเลือดที่ไปอุดตันสมอง ทำให้ผู้ป่วยลดความเสี่ยงว่าจะพิการ หรือมีความพิการน้อย โดยจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเข้ารับการรักษา ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สามารถรักษาให้ผู้ป่วยกลับมาหายเป็นปกติได้ หากแต่จะต้องรีบนำตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาให้โดยเร็วที่สุดหลังมีอาการภายในระยะเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง
การดูแลผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ไม่ใช่เรื่องยากเพียงแต่ต้องมีเวลาให้กับผู้ป่วย เพราะจะต้องใส่ใจในเรื่องของอาหารและการโภชนา การกายภาพเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาแข็งแรงขึ้น หากใครที่มีผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ในบ้านแต่ไม่มีเวลาและไม่ค่อยมีความรู้มากพอ สามารถใช้บริการนักกาพภำบำบัดที่บ้านของ BECOS เนื่องจากมีนักกายภาพบำบัดที่ความรู้และพร้อมเข้าให้บริการถึงที่บ้าน หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ Facebook
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
โรคเส้นเลือดในสมองตีบ ห้ามกินอะไร
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัดเพราะมีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เกลือ น้ำปลา ผงปรุงรส อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารดองเค็ม หรือเนื้อสัตว์ปรุงสำเร็จรูป เนื่องจากอาหารที่มีเกลือสูงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้ให้เกิดหลอดเลือดแข็งและตีบได้
เส้นเลือดในสมองตีบ รักษาหายไหม
โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ โดยจะต้องรีบนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
เส้นเลือดในสมองตีบกินยาอะไร
การรักษาโรคเส้นเลือดในสมองตีบมีหลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายสามารถรับประทานยาบรรเทาอาการได้ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด เป็นต้น
1. ยา Aspirin เป็นยาที่แพทย์จะจ่ายยาให้ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ และต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องคำแนะนำของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง
2. ยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ในการกระตุ้นก้อนเลือดหรือลิ่มเลือดที่แข็งตัวในการบล็อกการไหลของเลือดให้สลายตัว จึงช่วยให้เลือดและออกซิเจนไหลเวียนไปยังสมองได้อีกครั้ง และช่วยในส่วนที่เคยมีการอุดตันของลิ่มเลือดได้ ซึ่งสามารถเปิดทางให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองได้เป็นปกติ