084-458-4591

แชร์วิธีรักษาอาการนอนตกหมอนง่าย ๆ ใครอยากรู้ คลิกเลย!

เนื้อหาบทความนี้

ตื่นนอนมาแล้วปวดคอ หันข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้เพราะเส้นตึง ยึด ปวดร้าวไปทั้งคอเกิดจากอะไรกัน! ใครที่กำลังประสบกับปัญหาเหล่านี้อยู่อย่าเพิ่งตื่นตัวกลัวจนเป็นกังวลไปค่ะ เพราะอาการเหล่านี้ทางการแพทย์จะเรียกว่าอาการนอนตกหมอน  หลายคนอาจจะบอกว่าเป็นไม่ได้ หมอนที่บ้านก็ไม่ได้สูงอะไรจะตกหมอนได้อย่างไร ถ้าอยากรู้ว่าแท้จริงแล้วการนอนตกหมอนมันคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด และจะรักษาได้อย่างไร อย่ารอช้าตามไปดูคำตอบให้หายสงสัยกันได้เลย

นอนตกหมอนเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุของการนอนตกหมอน เกิดจาก ท่านอนที่ผิดปกติไปในระหว่างในขณะที่เราหลับโดยไม่รู้ตัว เช่น การนอนคอพับ คอตก หรือการนอนคอเคียงไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานานมากเกินไปหรือตลอดทั้งคืน ส่งผลให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นของคออีกฝั่งหดตัวจนเกิดความไม่สมดุล ยึดตึงโยงไปถึงกระดูกสันหลัง ทำให้เมื่อต้องเอียงคอไปอีกข้างเส้นเอ็นจะตึงจนเกิดอาการปวด เจ็บจี๊ดตามเส้นบริเวณคอ

อาการนอนตกหมอนเป็นอย่างไร?

อาการนอนตกหมอน  ส่วนใหญ่ที่พบหากไม่ได้มีการเอียงคอไปด้านใดด้านหนึ่งหรือหันซ้ายหันขวาจะไม่ได้มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่เมื่อต้องหันซ้ายหรือหันขวา หรือแม้กระทั่งเอียงคอ ไปในฝั่งที่เส้นเอ็นเกิดการหดตัว จะมีอาการเจ็บจี๊ดและตึงบริเวณกล้ามเนื้อตามมา ทำให้ไม่สามารถหันข้างนั้น ๆ ได้ หรือจะเรียกว่าถูกจำกัดการเคลื่อนไหวไปในชั่วขณะหนึ่งเลยก็ได้เช่นกัน และเมื่อทำการจดจุดบริเวณเส้นที่ตึงจะรู้สึกเจ็บมาก แต่ก็มีบางรายอาจมีอาการปวดต้นคอแม้ไม่ได้หันข้างก็ตาม หรือบางรายอาจพ่วงมาด้วยอาการปวดบ่าไหล่ร่วมด้วยเช่นกัน

อาการนอนตกหมอน แก้ยังไงได้บ้าง?

วิธีแก้คอเคล็ดนอนตกหมอน ไม่ใช่เรื่องยากและไม่จำเป็นต้องพบคุณหมอก็สามารถบรรเทาให้หายเองได้หากอาการไม่ได้รุนแรง โดยการแก้ไขแบ่งออกตามอาการดังต่อไปนี้

1. นอนตกหมอน หันคอไม่ได้

วิธีรักษานอนตกหมอน แล้วหันคอไม่ได้สามารถรักษาอาการเบื้องต้นได้ด้วยการประคบเย็นบริเวณคอฝั่งที่มีความตึงหรือปวดเพื่อเป็นการลดการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นโดยประคบทิ้งไว้ 10 นาทีและทำซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง หากนั้นสามารถใช้วิธียืดกล้ามเนื้อเข้ามาช่วยให้เส้นคลายและขยายมากขึ้นได้ โดยการบริหารคอโดยการก้มศีรษะลงเล็กน้อย จากนั้นให้หันหน้าไปฝั่งตรงข้ามกับคอด้านที่ตึง และให้เอียงคอลงให้ชิดกับหัวไหล่ให้ได้มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที และทำซ้ำแบบนี้ 3 รอบต่อวัน จะช่วยคลายเส้นที่ยึดตึงลงได้

2. ปวดไหล่ นอนตกหมอน

สำหรับใครที่มีอาการปวดไหล่จากการนอนตกหมอน ให้ใช้วิธีการนวดคลายเส้นเบา ๆ โดยใช้วิธีการคลึงไม่ควรกดเพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบได้ นอกจากนี้สามารถใช้การประคบเย็นบริเวณบ่าไหล่ร่วมด้วยก็ได้เช่นเดียวกัน

3. นอนตกหมอน ปวดคอ

หากมีอาการปวดคอแม้ไม่ได้ให้ในข้างที่ตึง วิธีรักษาก็ไม่ได้ต่างจาก 2 อาการแรกสักเท่าไหร่ โดยให้ใช้การประคบเย็นที่คอบริเวณที่ปวด จากนั้นให้ใช้ท่าบริหารโดยการค่อย ๆ เงยหน้าขึ้นและค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นค่อย ๆ ก้มลงจนสุดและค้างไว้อีก 10 วินาที ทำเช่นนี้ช้า ๆ 3-5 ครั้งต่อวัน จะช่วยคลายเส้นลดอาการปวดและตึงบริเวณคอลงได้

นอนตกหมอน กายภาพบําบัดเองอันตรายไหม ?

สำหรับการทำกายภาพบำบัดอาการนอนตกหมอน ไม่ได้มีอันตรายแต่อย่างใดหากทำอย่างถูกวิธี ตามข้อมูลที่เราได้มีการแนะนำไป เพราะถือเป็นท่าบำบัดในเบื้องต้นและไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคมากมายก็สามารถลดความเจ็บปวดลงได้ เพียงแต่ต้องระมัดระวังไม่ทำรุนแรงหรือบีบกดกล้ามเนื้อแรงจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและปวดหนักกว่าเดิมได้นั่นเองค่ะ

หากใครที่มีอาการนอนตกหมอนและอยากทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยบรรเทาและรักษาให้หายขาด หรืออยากได้ความรู้เรื่องของท่านอนที่ถูกต้อง หรือการบริหารคออย่างถูกวิธี เราขอแนะนำ BECOS เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือดที่จะช่วยให้หายจากอาการดังกล่าวได้ อีกทั้งยังได้ความรู้ใหม่ ๆ เช่น ท่านอนที่ถูกต้อง การใช้หมอนหนุนที่เหมาะสม หรือท่าบริหารต้นคอหากมีอาการปวด หากใครสนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ BECOS : บริการจัดส่งนักกายภาพบำบัด ไปที่บ้านเเละองค์กร

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

นอนตกหมอน ปวดคอกี่วันหาย

โดยปกติแล้ว นอนตกหมอน รักษา ได้ด้วยตนเองที่บ้าน ด้วยการบำบัดเบื้องต้นตามอาการ ไม่ว่าจะเป็นการประคบและบริหารคอบ่าไหล่ เพื่อคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด โดยทั่วไปจะใช้เวลา 1-3 วันก็มักจะกลับสู่ภาวะปกติ แต่หากใครที่ลองบำบัดเบื้องต้นแล้วไม่หายหรือยังคงมีอาการปวดเรื้อรังแนะนำให้เข้าพบแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อหาแนวทางการรักษาที่ตรงจุดต่อไป

นอนตกหมอนต้องกินยาอะไร

ประทานยาแก้ปวดอักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการเจ็บปวดจากการที่กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบหรือเกิดการเกร็งตัวจากอาการนอนตกหมอน หรือใช้ยาทาแก้ปวดภายนอก ทาบริเวณที่ปวดเพื่อคลายกล้ามเนื้อ แต่หากทานแล้วไม่หายหรืออาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการดังกล่าว ก่อนจะทำให้มีอาการเรื้อรังและรักษาหายยาก