084-458-4591

ชี้ชัด! แผลกดทับในผู้ป่วยและผู้สูงอายุเกิดจากอะไร พร้อมแนะการดูแลอย่างถูกวิธี

เนื้อหาบทความนี้

แผลกดทับคืออะไร

การบาดเจ็บของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อของชั้นใต้ผิวหนัง โดยอาการเริ่มต้นแผลกดทับจะปรากฏรอยแดงบริเวณที่โดนกดทับ จะเริ่มจากแผลตื้น ๆ ไปยังแผลพุพอง จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มใส เซลล์ผิวบริเวณผิวหนังถูกทำลาย และลึกจนสามารถมองเห็นถึงกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อได้

แผลกดทับเกิดมาจากอะไร

เกิดจากการกดทับหรือการเสียดสีของร่างกายบริเวณนั้น ๆ เป็นเวลานาน ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวได้ ทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายและเริ่มที่จะตายลง โดยสาเหตุหลัก ๆ มาจาก

  1. ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกกดทับเป็นระยะเวลานาน ๆ ทำให้ออกซิเจนและสารอาหารลำเลียงไปไม่ถึง เนื่อเยื่อบริเวณนั้น ๆ จึงถูกทำลาย
  2. การเสียดสีของผิวหนังที่มาจากผ้าปูที่นอนหรือเสื้อผ้าที่ใส่อยู่ ทำให้ผิวหนังอับชื้น
  3. ผู้ป่วยมีความชื้นที่ผิวหนัง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการกดทับมากยิ่งขึ้น ซึ่งความชื้นอาจเกิดจาก ปัสสาวะ เหงื่อ เป็นต้น

แผลกดทับมีกี่ระดับ

แผลกดทับระบุระยะจากระดับของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย โดยแบ่งออกทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะที่ 1 ผิวหนังมีความสมบูรณ์แต่จะมีรอยแดงในบริเวณที่เจ็บหรือปวด
  2. ระยะที่ 2 ผิวหนังมีความเสียหาย อาจจะมีลักษณะตุ่มพองน้ำ ซึ่งมีน้ำเหลืองอยู่ข้างในชั้นผิวหนัง และผิวหนังที่ถูกทลายจากความเปียกชื้น
  3. ระยะที่ 3 แผลบางส่วนจะมีเนื้อตาย อาจจะมีโพรงแผลหรือเกิดเป็นหลุมแผลขึ้นมา ผิวหนังถูกทำลายทั้งหมด
  4. ระยะที่ 4 สูญเสียผิวหนังทั้งหมด ลึกถึงขั้นมองเห็นกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ

ความเสี่ยงแผลกดทับส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในหลาย ๆ เรื่อง โดยเกิดขึ้นจากสาเหตุดังนี้

1. ปัญหาการเคลื่อนไหว

ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือนอนติดเตียงเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว

2. ภาวะขาดสารอาหาร

ภาวะขาดสารอาหาร คือ อาการขาดน้ำ ขาดอาหาร ทำให้ผิวหนังมีลักษณะบางลง หรือบางรายอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่สามารถฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บได้

3. การไหลเวียนของเลือดแย่ลง

อาจเกิดจากโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือด ซึ่งส่งผลโดยตรงกับระบบหมุนเวียนเลือดของร่างกาย   

4. คนไข้ติดเตียงแผลกดทับ

เกิดจากการผ่าตัดแล้วต้องพักฟื้นเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย

5. การอับชื้น

การใส่ผ้าอ้อมเป็นระยะเวลานาน หรือกลั้นการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ

การป้องกันการเกิดแผลกดทับ

แผลกดทับมักจะพบในผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเองได้ แต่เราสามารถป้องกันการเกิดแผลกดทับได้ง่าย ๆ เพียงทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. ควรเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยทุก ๆ ชั่วโมง หรือสามารถเปลี่ยนท่าได้บ่อย ๆ ตามต้องการ
  2. หมั่นดูแลผิวหนังของผู้ป่วยไม่ให้เกิดความอับชื้น ไม่ให้ผิวหนังแห้งและชื้น
  3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน โดยเน้น โปรตีนและน้ำเป็นหลัก
  4. กายภาพบำบัด อาจจะเป็นการออกกำลังกายให้ผู้ป่วย เช่นการขยับ แขน ขา เพื่อให้ผู้ป่วยจะได้เคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา

วิธีการดูแลแผลกดทับ

การลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับคือความสำคัญอย่างมากต่อผู้ป่วยติดเตียง เพื่อที่จะช่วยบรรเทาไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งและหากว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการแผลกดทับให้ใช้วิธีรักษาแผลกดทับระยะแรกสามารถทำได้โดย

  1. หมั่นทำความสะอาดแผลอย่างเป็นประจำ โดยใช้สำลีชุบน้ำเกลือ เช็ดทำความสะอาดอย่างเบามือ และหลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำลายเนื้อเยื่อที่กำลังจะขึ้นใหม่
  2. เปลี่ยนผ้าพันแผลเมื่อมีความสกปรกเกิดขึ้น และดูแลผ้าปูที่นอนให้มีความเรียบตึงตลอดเวลาและลดความอับชื้นได้เป็นอย่างดี เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดแผลกดทับขึ้นได้
  3. การดูแลแผลกดทับไม่ให้ลุกลาม เพื่อลดความเลี่ยงที่แผลจะลึกและกินเนื้อเยื่อลามไปบริเวณอื่น ๆ โดยเฉพาะการทําแผลแผลกดทับควรหมั่นทำความสะอาดและต้องดูแลเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้แผลกดทับติดเชื้อได้ง่าย

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เป็นแผลกดทับนั้นไม่เรื่องยากและก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะแผลกดทับนั้นเป็นตรายได้ ซึ่งในบางรายหากดูแลไม่ดีอาจจะเกิดแผลกดทับติดเชื้อง่าย ดังนั้น หากใครที่ไม่มีเวลาหรือกำลังมองหานักกายภาพบำบัดเข้ามาดูแลผู้ป่วยที่บ้านสามารถให้ BECOS ดูแลได้เลยค่ะ เพราะที่นี่มีนักกายภาพบำบัดมืออาชีพที่พร้อมจะดูแลคนที่คุณรักได้อย่างหายห่วงพร้อมให้บริการถึงที่บ้าน หากสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 099 631 8668 หรือ Facebook ได้เลยค่ะ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

แผลกดทับติดเชื้ออะไร

ติดเชื้อจากแบคทีเรียคลอสตริเดียม (Clostridium) ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะอยู่ในที่ที่อับชื้นและมีออกซิเจนน้อยมาก ๆ ทำให้แบคทีเรียชนิดนี้ผลิตก๊าซและปล่อยสารพิษออกมา ส่งผลให้แผลกดทับของผู้ป่วยบวมและเจ็บแผลอย่างรุนแรง และในบางรายอาจจะมีผิวหนังที่เน่าเปื่อยถึงขั้นต้องเข้ารักษาโดยการผ่าตัดและนำเนื้อเยื่อที่เน่าออกไป

แผลกดทับทายาอะไรดี

1. Cavilon No Sting Barrier Film ฟิล์มเคลือบผิวหนัง ช่วยปกป้องผิวหนังจาก อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำย่อย ทาบริเวณที่เกิดแผล และควรทำความสะอาดแผลก่อนทุกครั้ง
2. Zinc Paste ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวหนัง ปกป้องผิวไม่ให้เกิดการระคายเคืองและความชื้น
3. Duoderm Hydroactive Gel เหมาะกับแผลกดทับ เนื้อสัมผัสเป็นเจลช่วยให้แผลชุ่มชื่น แผลหายเร็ว ใช้สำหรับแผลกดทับระยะแรก

แผลกดทับรักษายังไง

1.จัดท่านอนผู้ป่วยและควรเคลื่อนไหวผู้ป่วย ไม่ให้ผู้ป่วยนอนท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ และไม่นั่งหรือนอนกดทับแผล
2.การทำแผลกดทับในบริเวณที่เป็นให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอและขึ้นอยู่กับระดับของแผลกดทับ หากแผลมีการติดเชื้อต้องรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด