084-458-4591

เผยหมดเปลือก! กายภาพบําบัดคืออะไร? ทำไมถึงสำคัญต่อผู้ป่วย

เนื้อหาบทความนี้

กายภาพบําบัด หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวและต้องเจ็บป่วยหนักเท่านั้นถึงจะต้องมาทำกายภาพ แท้จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้นเลย ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับร่างกายมนุษย์ยังคงมีอีกหลากหลายโรคมากมายที่ต้องพึ่งการทำกายภาพ ไม่ว่าจะเป็น ออฟฟิศซินโดรม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  อัมพฤกษ์  อัมพาต หรือแม้กระทั่งอาการเจ็บปวดกระดูกหรือกล้ามเนื้อเองก็สามารถรักษาด้วยการทำกายภาพได้ด้วยเช่นกัน วันนี้เราจึงจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับการทำกายภาพบำบัดให้มากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วอย่ารอช้า ตามไปดูกันได้เลย

กายภาพบําบัด คืออะไร?

กายภาพบําบัด คือ ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยในลักษณะของการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ซึ่งการทำกายภาพมีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการกายภาพระบบกล้ามเนื้อ กายภาพด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า กายภาพด้านระบบประสาท กายภาพทางด้านระบบหลอดเลือดและหัวใจ และอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถเลือกทำตามความเหมาะสมและสภาพร่างกายของผู้ป่วยโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษานั้นเอง

การทำกายภาพบําบัด มีอะไรบ้างและช่วยอะไรได้บ้าง?

การทำกายภาพบำบัดมีหลายประเภท แบ่งออกได้ดังนี้

1. กายภาพบําบัดกล้ามเนื้อ

เป็นการกายภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่ได้ขยับกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน หรือผู้ป่วยที่มีประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว รวมไปถึงปัญหาเรื่องความเจ็บปวดคอ บ่า ไหล โดยการบำบัดจะเน้นไปที่การเคลื่อนไหวและขยับร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกิดการใช้งาน บางรายที่มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้ออักเสบอาจได้รับการบำบัดด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย

2. กายภาพบําบัด ระบบประสาท

การกายภาพระบบประสาทจะใช้สำหรับผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องเส้นประสาทและสมอง ส่วนมากแล้วจะนิยมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงอุบัติเหตุที่ทำให้สมองได้รับการกระทบกระเทือนจนสูญเสียความทรงจำในระยะสั้น โรคพาร์กินสัน และภาวะบาดเจ็บไขสันหลัง โดยการบำบัดจะใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ร่วมกับการบำบัดทางกายภาพ ด้านการทรงตัว การเคลื่อนไหวร่วมด้วย

3. กายภาพบําบัดเส้นเอ็นอักเสบ

สำหรับการกายภาพเส้นเอ็นอักเสบเองจะมีหลายระดับและหลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย เช่น การประคบร้อน การประคบเย็น การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การขยับข้อต่อ การนวดคลึงเพื่อให้เส้นคลาย และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งการบำบัดเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยคลายอาการปวดลงได้มาก ทั้งนี้ยังช่วยลดการอักเสบที่มากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย

4. กระดูกทับเส้น กายภาพบําบัด

การกายภาพประเภทนี้จะเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นท่าเดิน ท่านั่ง ท่าออกกำลังกาย รวมไปถึงท่านอน ทั้งนี้เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณหลังและหน้าท้องเมื่อกล้ามเนื้อทั้ง 2 จุดนี้มีความแข็งแรงมากพอจะช่วยรับแรงกดทับบริเวณกระดูกสันหลังได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้อาการปวดลดลงนั่นเอง

5. ข้อไหล่ติด กายภาพบําบัด

สำหรับการกายภาพข้อไหล่ติดนั้นสามารถทำกันเองได้ง่าย ๆ ที่บ้านโดยการหันหน้าเข้าหากำแพง จากนั้นให้ยกแขนข้างที่มีปัญหาข้อไหล่ติดให้เหยียดตรงและดันกำแพงไว้ จากนั้นค่อย ๆ ขยับแขนไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ โดยยังคงให้ฝ่ามือติดกับกำแพง เมื่อรู้สึกว่าตึงจนขยับไม่ได้แล้วให้หยุดและข้างไว้ 15 วินาที จากนั้นเริ่มทำใหม่เช่นเดิมอีก 5 รอบเป็นประจำทุกวันจนกว่าจะเริ่มรู้สึกขยับและเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ วิธีนี้จะช่วยให้ข้อไหล่และเส้นเอ็นที่ตึงก่อให้เกิดอาการปวดและขยับได้ยาก กลับสู่สภาวะปกติได้เร็วยิ่งขึ้น

6. ออฟฟิศซินโดรม กายภาพบําบัด

สำหรับการกายภาพประเภทสุดท้ายเป็นการกายภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่วัยทำงาน ซึ่งอาการเจ็บป่วยมักจะเริ่มจากพฤติกรรมการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลาหลายชั่วโมงและเป็นเช่นนั้นติดต่อกันในเวลานาน โครงสร้างร่างกาย กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นต่าง ๆ จะเริ่มอยู่ผิดที่ผิดทาง บางรายอาจส่งผลหนักจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง บางรายก่อให้เกิดโรคกระดูกสับเส้นประสาท จึงจำเป็นต้องมีการกายภาพด้วยท่าบริการกล้ามเนื้อและเส้น หรืออาจมีการใช้เครื่องมือทางกายแพทย์เข้ามาร่วมด้วย เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง

การกระตุ้นไฟฟ้า กายภาพบําบัดช่วยอะไรได้บ้าง?

การใช้กระตุ้นไฟฟ้าบำบัดรักษาถือเป็นหนึ่งวิธีทางการแพทย์ที่นิยมใช้บำบัดผู้ป่วยในปัจจุบัน ด้วยปกติแล้วร่างกายของคนเรามักจะมีกระบวนการฟื้นฟูตนเองด้วยโปรตีนอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นจะต้องเร่งรักษาอาการเจ็บป่วยก็จำเป็นจะต้องพึ่งการกระตุ้นไฟฟ้า เมื่อร่างกายได้รับกระแสไฟฟ้าเข้าไปจะช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน ทำให้ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ได้ง่ายกว่าปกติ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์ต่าง ๆ ให้แข็งแรง อีกทั้งกระแสไฟฟ้ายังช่วยกระตุ้นการตื่นตัวของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ได้รับด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ช่วยที่จะได้รับการบำบัดด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าจะต้องได้รับการประเมินจากแพทย์ผู้รักษาก่อนทุกครั้ง

กิจกรรมบําบัด กับ กายภาพบําบัดแตกต่างกันอย่างไร?

กิจกรรมบำบัดเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาทางด้าน จิตใจ พฤติกรรม ความคิด พัฒนาการ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตต่อได้อย่างมีคุณภาพ มักส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้คิด แก้ไขปัญหา และมองเห็นคุณค่าในตนเองมากยิ่งขึ้น 

กายภาพบำบัดเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาความความบกพร่องทางด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว หรือบำบัดความเจ็บป่วยทางด้านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ ฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรงและช่วยให้เข้าสู่สภาวะปกติให้ได้มากที่สุด หากใครที่ต้องการได้รับคำแนะนำในเรื่องกายภาพบำบัด สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่  BECOS สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ BECOS : บริการจัดส่งนักกายภาพบำบัด ไปที่บ้านเเละองค์กร

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

กายภาพบําบัด มีกี่ประเภท

กายภาพบำบัดถูกแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
– กายภาพบำบัดด้านระบบประสาท
– กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
– กายภาพบำบัดเส้นเอ็นอักเสบ
– กายภาพบำบัดกระดูกทับเส้น
– กายภาพบำบัดข้อไหล่ติด
– กายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม