หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม!! สำหรับใครที่มักมีอาการปวดเมื่อยอยู่บ่อย ๆ นวดเท่าไหร่ กินยาคลายเส้นเท่าไหร่ก็ไม่หายสักที ฟังทางนี้เลยค่ะ บทความของเราในวันนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทว่ามันคือโรคอะไร อาการเป็นอย่างไร อันตรายมากน้อยแค่ไหน และเกิดขึ้นจากอะไร พร้อมบอกวิธีการรักษา ถ้าไม่อยากพลาดสาระดี ๆ ตามไปดูพร้อมกันได้เลยค่ะ
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคืออะไร
เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกบริเวณสันหลังที่เกิดการทรุดตัว หรือเรียงตัวบิดเบี้ยวจนไปกดทับเส้นประสาทบางส่วน จนเกิดอาการอักเสบและก่อให้เกิดอาการปวด ชา ตามมา ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายจุดไม่ว่าจะเป็นบริเวณเอว บริเวณคอ บ่าไหล ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยรายนั้น ๆ
ปัจจัยเสี่ยง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
1.การทำงานที่ต้องยกของหนักเป็นเวลานาน
การยกของหนักถือเป็นเป็นสาเหตุยอดฮิตที่ก่อให้เกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเลยก็ว่าได้ หลายคนที่ทำงานที่จำเป็นจะต้องมีการแบกหาม หรือยกของอยู่บ่อย ๆ ทำให้ต้องใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนักในระยะยาวจะส่งผลทำให้หมอนรองกระดูกบิดเบี้ยวจากเดิมจนไปกดทับบริเวณเส้นประสาทได้
2. น้ำหนักตัวมากเกินไป หรือโรคอ้วน
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจะทราบเป็นอย่างดีว่ามักจะมีอาการปวดหลังตามมาอยู่บ่อย ๆ นั้นก็เพราะน้ำหนักตัวที่มากขึ้นจะเป็นตัวถ่วงรั้งให้บริเวณแผ่นหลังส่วนกลางต้องรับน้ำหนักมาก ส่งผลให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนตัวได้ โดยเฉพาะคนที่อ้วนลงพุง จะมีแน้วโน้มเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นได้สูง
3. ร่างกายอ่อนแอไม่แข็งแรง ไม่ออกกำลังกาย
ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายหรือไม่เคยทานอาหารบำรุงข้อ กระดูกเลย มีโอกาสเสี่ยงต่อหมอนรองกระดูกทับเส้นสูงเช่นกันเพราะกล้ามเนื้อที่ฝ่อลีบ และกระดูกที่ไม่แข็งแรงย่อมเสื่อมสภาพได้ง่ายกว่าปกตินั้นเอง
4.อุบัติเหตุ
การเกิดอุบัติที่ส่งผลต่อกระดูกบริเวณสันหลังหรือกล้ามเนื้อบริเวณหลัง อาจเป็นต้นเหตุให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทได้ เช่น อุบัติเหตุรถชน หกล้ม การเล่นกีฬา หรือแม้กระทั่งการขยับหรือบิดตัวผิดท่า ก็อาจทำให้กระดูกเคลื่อนที่ได้เช่นกัน
5.การสูบบุหรี่
ปัจจัยข้อสุดท้าย เป็นผลในระยะยาว สำหรับใครที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่จากคนรอบข้างอยู่บ่อย ๆ เมื่อสะสมเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพและเคลื่อนบิดได้ง่าย เนื่องจากควันบุหรี่จะยับยั้งปริมาณออกซิเจนที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย รวมถึงบริเวณหมอนรองกระดูกทำให้ไม่ได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอและเสื่อมประสิทธิภาพลงในที่สุด
3 อาการบ่งบอกโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
1. ปวดบริเวณเอว สะโพก ร้าวลงไปถึงขาเป็นเวลานาน
อาการปวดเหล่านี้จะเรื้อรัง บางรายมีอาการหนักถึงขั้นปวดเวลาหายใจเข้า-ออกหรือเวลาไอ
2. ปวดเมื่อย รู้สึกอ่อนแรง
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาสักระยะเวลาหนึ่งและไม่ได้ทำการเข้าพบแพทย์เพื่อรักษา ปล่อยทิ้งอาการไว้ เมื่อเริ่มนานวันจะมีอาการอ่อนแรง แขนขาเริ่มขยับได้ไม่เต็มที่เท่าที่เคย เนื่องจากเส้นประสาทที่ใช้สั่งการถูกกดทับอยู่นั้นเอง
3. อาการชาบริเวณ ขาหรือปลายเท้า
อาการชามักเกิดขึ้นกับบริเวณขาและปลายเท้าเป็นผลมาจากเส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน บางรายจะเเสดงออกควบคู่กับอาการปวดร้าวหลังหรือกล้ามเนื้อลงมาถึงบริเวณสะโพกและขา แต่บางรายจะมีอาการชาเป็นระยะ
การรักษา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
การรักษาสามารถทำได้ 4 รูปแบบดังนี้
- การใช้ยารักษา
- การผ่าตัด
- การฝังเข็ม
- การทำกายภาพบำบัด
ซึ่ง 4 วิธีการรักษาดังกล่าวขึ้นอยู่กับระดับความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น หากกระดูกไม่ผิดรูปมากจนเกินไปสามารถเลือดใช้วิธีทานยาคู่กับกายภาพบำบัด หรือฝังเข็มร่วมกันได้ แต่หากรุนแรงก็จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเข้ามาช่วยก็จะทำให้ความผิดปกติของกระดูกสันหลังหายเร็วขึ้น
หมอน รอง กระดูก คอ ทับ เส้น ประสาท กายภาพ บําบัด ช่วยได้ไหม
การทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นถือเป็นการรักษาชนิดหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการได้ดี เปรียบเสมือนการช่วยขยับเขยื้อนกระดูกให้เข้าที่ได้โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด แต่จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยเฉพาะ เพราะไม่ใช่ว่าจะยกแขนยกขาบิดเอวบิดไหล่ได้ตามใจชอบนะคะ การกายภาพจะต้องมีการใช้ท่าบำบัดอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดความบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ และทำให้กระดูกเคลื่อนไปมากกว่าเดิม
สำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือใครที่มีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้อยู่และหากปรึกษาคุณหมอแล้วสามารถกลับมาทำกายภาพที่บ้านได้ แต่ตนเองไม่มีความรู้ด้านการกายภาพ สามารถเรียกใช้บริการนักกายภาพบำบัดที่บ้านจาก Becos ได้เลยค่ะ ให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพและกิจกรรมบำบัด ปลอดภัย หายห่วงได้เลย หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ Facebook เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจใช้บริการได้เลยค่ะ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รักษาหายไหม
โรคนี้สามารถหายขาดได้จากการทานยา การบำบัด หรือการผ่าตัด บางรายอาจหายเองได้หากอยู่ในอาการขั้นต้นและเข้าปรึกษาแพทย์ในทันทีเพื่อทราบแนวทางการแก้ไข หรือรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ต้องผ่าตัดไหม
ไม่ใช่ทุกรายที่เป็นโรคนี้แล้วจะต้องผ่าตัด ซึ่งหมอจะวินิจฉัยให้ผ่าตัดก็ต่อเมื่อร่างกายผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการทานยาหรือกายภาพบำบัดได้เท่านั้น