084-458-4591

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS คือภัยเงียบที่ควรระวัง! เผยอาการและสาเหตุที่แท้จริง

เนื้อหาบทความนี้

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS ย่อมาจาก ภาษาอังกฤษ amyotrophic lateral sclerosis คือการสูญเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เนื่องจากเส้นปลายประสาทสมองบกพร่องและส่งผลต่อระบบประสาท กล่าวคือการออกแรงมากเท่าไหร่ก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามที่เราต้องการ วันนี้ลองมาเช็คอาการและทำความรู้จักโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงกันค่ะ ว่าใครที่กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงและถ้าเป็นแล้วควรรักษายังไง

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการเริ่มต้นจะเกิดจากการที่แรงของมือ แขน หรือขาชา หรือยกไม่ขึ้น มือไม่สามารถกำของหรือบีบวัตถุได้ หรือเวลาเดินแล้วหกล้มบ่อย ๆ ไม่มีแรงจะก้าวขาเดินด้วยตนเอง โดยอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการเริ่มแรกดังนี้

1. กล้ามเนื้ออ่อนแรงแขนขา

แขนและขาไม่สามารถควบคุมน้ำหนักหรือสมองไม่สามารถสั่งการให้ยกหรือออกแรงได้ และลุกลามไปเรื่อย ๆ

2. มือ แขน หรือขาลีบ 

กล้ามเนื้ออ่อนแอลง รู้สึกว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อกระตุก ซึ่งเกิดจากการที่การสั่งการเส้นประสาทเสื่อมสภาพลง ทำให้กล้ามเนื้อลีบลงอย่างเห็นได้ชัด

3. กะบังลมอ่อนแรง เหนื่อยง่าย

ไม่สามารถควบคุมการทำงานของกะบังลมได้ จึงทำให้หายใจไม่สะดวก

4. กล้ามเนื้อรอบดวงตาและใบหน้าอ่อนแรง 

เป็นอาการกล้ามเนื้อเปลือกตาตก หรือบางรายอาจมองเห็นภาพซ้อนได้

5. พูดไม่ชัด การเคี้ยวและการกลืนลำบาก

มีอาการลิ้นแข็งทำให้พูดไม่ชัด เวลารับประทานอาหารเกิดอาการสำลักทำให้ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ

การตรวจกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีวิธีการวินิจฉัยอย่างไร

โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจประวัติผู้ป่วยโดยการตรวจร่างกายอย่างละเอียดดังนี้

1. การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อหรือการตรวจชักนำประสาท

คือการส่งกระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อย เพื่อตรวจสอบความสามารถของเส้นประสาทและเป็นการวัดกระแสไฟฟ้าไปยังมัดกล้ามเนื้อเพื่อดูความผิดปกติของการทำงาน

2. การตรวจชักนำประสาท

เป็นการกระตุ้นประสาทซ้ำตรงบริเวณกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องใช้กระตุ้นเพื่อดูสัญญาณกล้ามเนื้อ

3. การตรวจ MRI SCAN

ช่วยตรวจหาความผิดปกติของกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกทับเส้น แขนหรือขาอ่อนแรง

4. การเจาะน้ำไขสันหลัง

เพื่อวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลางและสมอง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากอะไร

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสาเหตุมาจากเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการการทำงานของกล้ามเนื้อเสื่อมลงโดยเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

1.คนที่เป็นซึมเศร้า มักจะมีอาการวิตกกังวล เครียดอยู่ตลอดเวลา

2. โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากภาวะของสมองแย่ลงและส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เช่น หลงลืมง่ายหรือหาของไม่เจอ เป็นต้น

3. ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันจากการทำงานของสารสื่อประสาทบริเวณช่องว่างระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อบกพร่อง จึงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงแขนขาและทั่วร่างกาย

4. คนในครอบครัวป่วยเป็นโรค ALS ทำให้ได้รับพันธุกรรมและสามารถที่จะเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีกี่ชนิด

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะมีอาการรุนแรงขึ้นหากไม่สังเกตอาการของตนเองในระยะเริ่มต้น อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ สังเกตอาการดังกล่าวได้ดังนี้

1. กล้ามเนื้ออ่อนแรงชั่วคราว

เกิดอาการแขนขาอ่อนแรง สะดุดบ่อย ลุกนั่งลำบาก แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเฉยชากับอาการเหล่านี้ จึงทำให้อาการแย่ลง

2. กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน

โดยจะมีอาการอ่อนแรงเท่ากันทั้งสองข้าง และจะเริ่มที่ขา จากนั้นอาการอ่อนแรงจะลามไปทั่วทั้งร่างกาย และอันตรายถึงชีวิตหากกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจอ่อนแรงและไม่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจให้ทันเวลา

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงรักษาหายไหม

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถรักษาตามอาการ เน้นเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง โดยเบื้องต้นจะให้ยาเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อและวางแผนการรักษาให้ความสำคัญกับรายละเอียดและครอบคลุมทุกอาการเจ็บป่วย ซึ่งมีแนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงดังต่อไปนี้

1. การรับประทานยาที่ทำให้กล้ามเนื้อมีแรงเพิ่มขึ้นและให้ยาปรับภูมิคุ้มกัน เพื่อกดภูมิที่สร้างมาทำร้ายตัวเอง

2. การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่าเพื่อกำจัดสารที่เป็นตัวก่อโรคที่หมุนเวียนอยู่ในพลาสมาออกไปจากเลือดผู้ป่วยหรือภูมิคุ้มกันที่ร่างกายผลิตจากพลาสมาในโลหิต ต่างๆ รวมถึงรักษาการขาดแอนติบอดีจากการบำบัดด้วยอิมมูโนโกลบูลิน

3. พักผ่อนให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สุขภาพและกล้ามเนื้อแข็งแรง

วิธีกายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การฟื้นฟูกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำได้โดยการทำกายภาพบำบัด เนื่องจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ทำให้กายภาพบำบัดได้หลายวิธีดังนี้

1.กล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถรักษาได้ด้วยการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงให้กลับมาแข็งแรงขึ้น

2.ผู้ป่วยที่สมองได้รับกระทบกระเทือน จะทำการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูการทำงานของ ที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้ สามารถกลับมาใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างปกติ

3.โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงผู้ป่วยที่ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ และมีอาการที่ทรุดลง การกายภาพบำบัดมีส่วนสำคัญอย่างมากในการชะลอความพิการ และทำการฝึกฝนกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ให้มีความแข็งแรงและสามารถออกแรงได้

ปัจจุบันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่พบเจอบ่อยที่สุดและไม่สามารถป้องกันได้แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงต่อสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดอาการได้โดย การมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ไม่ทำอะไรที่ทำให้เกิดความเครียด และหากใครที่ไม่มีความรู้ด้านการกายภาพสามารถให้นักกายภาพจาก BECOS มาช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้เลยค่ะ และหากสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ Facebook เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

กล้ามเนื้ออ่อนแรงกินอะไรดี

ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเลือกรับประทานอาหารดังนี้
1.โปรตีน จำพวกไข่ไก่ เนื้อสัตว์ หรือดื่มนมวันละ 1 แก้ว
2.รับประทานกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น เวลาปรุงอาหารควรใช้น้ำมันข้าวโพดหรือน้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น
3.อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ข้าวไม่ขัดสี ธัญพืช ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย
4.ผักและผลไม้ โดยเน้น วิตามินบี เพื่อนช่วยในเรื่องของระบบประสาทและสมอง
5.ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยนำพาสารอาหารที่ได้รับไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้

กล้ามเนื้ออ่อนแรงห้ามกินอะไร

สามารถรับประทานอาหารได้ทุกอย่าง เว้นแต่ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย

กล้ามเนื้ออ่อนแรงกินยาอะไร

1.ไพริโดสติกมีน (Pyridostigmine) สำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เพิ่งเริ่มมีอาการช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัวและแข็งแรงขึ้น โดยการใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ เป็นต้น
2.เพรดนิโซน (Prednisone) ยับยั้งการผลิตแอนติบอดี้ ซึ่งมีผลข้างเคียงได้ เช่น กระดูกบางลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เสี่ยงเป็นเบาหวานและการติดเชื้ออื่น ๆ
3.ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) เช่น อะซาไธโอพรีน, ไมโคฟีโนเลต โมฟีทิล, ไซโคลสปอริน, เมทโธเทร็กเต หรือทาโครลิมัส ยาจำพวกนี้มีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ตับและไตอักเสบได้ และจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานถึงจะเห็นผล อีกทั้งยังต้องหมั่นตรวจเลือด เพื่อเช็กระบบภูมิคุ้มกันและผลข้างเคียงอย่างอื่น

กล้ามเนื้ออ่อนแรงขาดวิตามินอะไร

หากขาดวิตามินบี 1 บี 2 บี 6 ก็จะเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเพียงเล็กน้อย เพราะวิตามินเหล่านี้มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก จึงทำให้กล้ามเนื้อไม่ประสานกันและเกิดอาการดังกล่าว