อาการปวดไหล่ซ้าย ต้นคอ ปวดสะบัก ปวดบ่า ปวดหัว มักเป็นอาการที่พบได้ในวัยทำงานในหลาย ๆ คน ซึ่งอาการเหล่านี้หากไม่รีบทำการรักษาก็อาจทำให้เกิดอาการเรื้อรังขึ้นมาได้ และจะส่งผลให้เกิดความอันตรายในที่สุด วันนี้เราจะพาทุกคนไปเช็กอาการกันว่าปวดไหล่ซ้าย ปวดต้นคอ หรือปวดช่วงบริเวณบ่า สะบักต่าง ๆ ปวดแบบไหนถึงต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
สาเหตุของอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดจากอะไร
ปวดไหล่ซ้าย ต้นคอ ปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสมกับร่างกายของเรา เช่น การนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ๆ การออกกำลังกายในท่าที่ไม่เหมาะสม ออกกำลังกายผิดท่า นอนคอตกหมอน หรือนอนหมอนที่มีลักษณะที่สูงมากจนเกินไป ทำให้ช่วงต้นคอ บ่า ไหล่ เกิดอาการเกร็ง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ไปจนถึงต้นคอมีอาการปวด
ปวดต้นคอแบบไหนอันตราย
หลายคนคงสงสัยว่าหากมีอาการปวดไหล่ ต้นคอ ปวดหัว ปวดท้ายทอย จะเป็นอันตรายไหม ไปเช็กอาการพร้อม ๆ กันเลย
อาการปวดไหล่ซ้าย ต้นคอคืออาการปวดที่บริเวณศีรษะหรือท้ายทอย ซึ่งบางคนอาจมีอาการปวดร้าวลงบ่า แขน หรือสะบักและมีอาการชาที่แขนหรือที่นิ้วมือร่วมด้วย โดยให้สังเกตได้เลยว่าอาจพบปัญหาของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้เคลื่อนไหวหรือขยับคอลำบาก ซึ่งอาจเกิดจากการเสื่อมของกระดูกคอและสามารถพบจุดกดเจ็บที่บริเวณกล้ามเนื้อสะบัก ไหล่ ต้นคอและบ่า หรือในผู้ป่วยบางรายมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เส้นประสาทอักเสบทำให้ปวดร้าวลงแขน ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้างแก้มหรือบริเวณขมับรอบดวงตา บางรายเป็นหนักถึงขั้นชาบริเวณใบหน้า ดังนั้นจึงมักพบว่าผู้ที่มีอาการปวดต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเป็นภาวะระบบกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ระบบสมอง ภาวะอักเสบของข้อต่อและหมอนรองกระดูก โรคออฟฟิศซินโดรม ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทและไขสันหลัง หรืออาการเกิดจากความผิดปกติจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการยกของหนัก การออกกำลังกายผิดท่า เป็นต้น ดังนั้นใครที่มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ให้รีบเข้าปรึกษาแพทย์โดยด่วน ไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการเรื้อรังตามมา
อาการปวดไหล่ซ้าย ต้นคอ
การปวดไหล่ไม่ว่าจะปวดบริเวณไหน ข้างไหน มักจะทำให้มีการขยับหรือเคลื่อนไหวลำบาก โดยส่วนใหญ่แล้วจะปวดบริเวณช่วงโค้งของไหล่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างลำตัวกับแขน ซึ่งอาจมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม เช่น ยกของหนักทำให้กล้ามเนื้อคออักเสบ อาการเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้
วิธีแก้อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดไหล่ซ้าย สะบัก บ่า
วิธีแก้อาการปวดที่ดีที่สุดคือการสังเกตตัวเองว่ามีอาการปวดแบบไหน เช่น
1. ปวดไหล่ซ้าย ต้นคอ วิธีแก้
อาจเกิดจากการที่ใช้เวลาอยู่กับการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ จึงทำให้เกิดการปวดตึงแบบซ้ำ ๆ ซึ่งวิธีแก้ที่ดีที่สุดจะต้องทำการเปลี่ยนท่านั่ง หรือทำการลุกเดินยืดเส้นยืดสาย เพื่อให้กล้ามเนื้อไม่เกิดการตึงเครียด
2. ปวดไหล่ซ้าย สะบัก บ่า วิธีแก้
บริหารกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ โดยการนวดเบา ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดความผ่อนคลายและช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อให้มากยิ่งขึ้น เช่น โยคะ บริหารหัวไหล่เป็นประจำ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือทำการยืดเส้นยืดสายบริเวณช่วงแขนไปจนถึงหัวไหล่ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่นและคลายความไม่ตึง
หากใครที่มีอาการปวดไหล่ซ้าย ต้นคอ เป็นระยะเวลานาน ๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโดยทันที ซึ่งจะหากตรวจพบอาการผิดปกติที่อาจส่งผลขั้นรุนแรง จะได้รักษาได้ทันเวลา เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคกระดูกคอเสื่อม โรคทางระบบประสาทและสมอง กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น ดังนั้นใครที่มีอาการสามารถเข้ารับการกายภาพบำบัดได้ที่ BECOS และให้ทางเราช่วยดูแลและรักษาอาการปวดต่าง ๆ และใครที่มีความสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ BECOS : บริการจัดส่งนักกายภาพบำบัด ไปที่บ้านและองค์กร
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ปวดไหล่ซ้าย ต้นคอ
ปวดคอ บ่าไหล่เพราะอะไร
สาเหตุส่วนใหญ่แล้วจะพบได้ในกลุ่มบุคคลที่มีอาการทั่วไป เช่น
– ระบบกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอักเสบ
– กล้ามเนื้อเกิดการตึงเครียดจากการใช้งาน
– การกดทับของเส้นประสาท พบไม่บ่อยมากแต่ลักษณะอาการรุนแรง
– อาการหัวไล่ขั้นรุนแรง โดยมีอาการตึง ร้าวลงแขน หรือมีอาการชาร่วมด้วย
อาการปวดต้นคอ ท้ายทอย รักษายังไง
สามารถรักษาอาการปวดโดยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
1. ทำการนวดเบาๆ บริเวณที่มีอาการปวด
2. ออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ
3. ใช้วิธีประคบร้อนหรือเย็นใน จนอาการบรรเทาลง
4. รับประทานยาแก้ปวดหรือคลายกล้ามเนื้อ
5. กายภาพบำบัด
ปวดต้นคอกี่วันหาย
การรักษาอาการปวดต้นคอ จะมีหลากหลายวิธี แต่จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น หากอาการไม่รุนแรง จะใช้วิธีการนวดเพื่อคลายกล้ามเนื้อ ไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงเครียดจนมากเกินไป ทำให้อาการดังกล่าวสามารถหายได้ทันที หรือหากไม่ทำการนวด อาการปวดต้นคออาจจะหายเองได้โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 วัน หรือหากใครที่เป็นแล้วไม่หาย แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการปวด ก่อนที่จะทำให้เกิดความรุนแรงตามมา