อาการปวดไหล่ถึงต้นคอและหลัง มักพบมากในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ หรือกลุ่มคนที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ จนเกิดอาการเรื้อรัง ส่งผลให้กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท บางรายอาจมีอาการปวดร้าวลงแขน สะบัก ปลายมือ หรือมีอาการชาร่วมด้วย หรืออาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การยกของหนัก การออกกำลังกายผิดท่า เป็นต้น
อาการปวดไหล่แบบไหนอันตราย
หากมีอาการปวดไหล่ขวา ต้นคอ ให้ตระหนักได้ว่าเป็นอาการปวดเพราะมีการกดทับเส้นประสาท ซึ่งบางรายจะปวดร้าวลงแขนไปจนถึงมือ อีกทั้งยังมีอาการชาร่วมด้วย หากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเกิดอาการอ่อนแรงขึ้น เช่น ยกไหล่ไม่ขึ้น ขยับนิ้วไม่ได้ หรือไม่สามารถกระดกข้อมือขึ้นได้ โดยอาการเหล่านี้ต้องรักษาด้วยการผ่านตัดเท่านั้น หรือยิ่งไปกว่านั้นมีอาการปวดเพราะมีการกดทับกระดูกไขสันหลัง ซึ่งเกิดจากการที่มีอาการปวดคอเรื้อรังและมีอาการชาและอ่อนแรงร่วมด้วย ให้สังเกตอาการของตัวเอง เช่น สูญเสียการทรงตัว เป็นต้น
สาเหตุของอาการปวดไหล่ขวา ต้นคอเกิดจากอะไร?
สาเหตุของอาการปวดบ่า ไหล่ ต้นคอเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งเก้าอี้ทำงานเป็นระยะเวลานาน การหนุนหมอนสูงหรือเตี้ยเกินไป การนอนผิดท่า การยกของหนัก การหรือการเล่นโทรศัพท์ในท่าเดิม ๆ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสาเหตุของอาการปวดบ่า ไหล่ ต้นคอและหลังและหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือไม่มีการยืดเส้นยืดสาย อาจทำให้อาการมีความรุนแรงจนถึงขั้นเรื้อรัง
วิธีแก้ปวดคอ บ่า ไหล่ อันตรายอย่าปล่อยทิ้งไว้นาน
ปวดไหล่ขวา ต้นคอ วิธีแก้เบื้องต้น คือ ควรหยุดพักการใช้ข้อไหล่ และควรนอนในท่าที่เหมาะสม หากยังมีอาการหรือยังไม่บรรเทาลง ให้ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่ หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพในการทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยลดอาการปวด อีกทั้งยังควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หากนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ ควรใช้เก้าอี้นั่งที่มีพนักพิงและที่พักแขน และต้องนั่งทำงานให้ถูกท่า ไม่ควรนั่งทำงานเป็นระยะเวลาที่นานเกินไป ควรลุกขึ้นยืนหรือยืดเส้นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ได้
ท่าบริหารลดอาการปวดไหล่ขวา สะบัก บ่า ทำตามง่าย ๆ
วิธีการบริหารอาการปวดไหล่ขวา ต้นคอ ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ยังมีการบริหารร่างกายเข้ามาช่วยเสริม เพื่อช่วยยืดเส้นสาย สามารถคลายกล้ามเนื้อในบริเวณที่ปวดได้ หากทำเป็นประจำ จะช่วยให้อาการปวดไหล่ขวา ต้นคอ ดีขึ้นได้ โดยสามารถใช้ท่าบริหารต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. ปวดไหล่ ต้นคอ ท่าบริหาร
การยืดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ โดยเริ่มจากการเอียงคอไปข้างใดข้างหนึ่ง จนรู้สึกตึงบริเวณต้นคอ จากนั้นใช้มือข้างที่เอียงคอช่วยในการยืด ด้วยการจับศีรษะแล้วค่อย ๆ กดน้ำหนักเพื่อยืดกล้ามเนื้อต้นคอ ทำค้างไว้ 10-15 วินาที และทำสลับข้าง ทำแบบนี้ไปประมาณ 2-3 เซต เพื่อช่วยลดอาการปวดตึงต้นคอได้
2. ปวดคอบ่าไหล่ ท่าบริหาร
เริ่มจากการยกแขนข้างใดข้าหนึ่งขึ้นมาด้านหน้า ให้สูงระดับไหล่ จากนั้นทำการยืดแขนไปด้านตรงข้ามโดยให้อยู่ในลักษณะที่วางพาดช่วงอก และใช้แขนอีกข้างงอขึ้นมาทับแขนข้างที่กำลังยืด โดยทำการออกแรงดึงให้แขนที่ยืดอยู่เข้าใกล้ลำตัวจนรู้สึกได้ว่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที จากนั้นทำซ้ำแบบเดิมโดยเปลี่ยนข้าง และทำสลับข้างไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกหายปวด
3. ปวดไหล่ขวา สะบัก บ่า ท่าบริหาร
ให้เตรียมท่านั่งหรือยืนตรง โดยให้แขนทั้งสองข้างแนบกับลำตัว และกดบ่าลงเล็กน้อย จากนั้นทำการออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อสะบักหลัง โดยทำการบีบให้เข้าหาแกนกลางลำตัว จนรู้สึกถึงอาการตึง ทำค้างไว้ 10-15 วินาที และทำซ้ำ 3 เซต ซึ่งในระหว่างเซตควรพักกล้ามเนื้อก่อนทำเซตใหม่ 20-30 วินาที เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
หากใครที่มีอาการปวดไหล่ขวา ต้นคอ อยู่บ่อยครั้ง ควรเข้ารับการรักษาโดยการกายภาพบำบัดเพื่อช่วยให้อาการหายขาด เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้เป็นเรื้อรังจนรักษาได้ยากถึงขั้นผ่าตัด ทาง BECOS สามารถดูแลท่านได้ เนื่องจากทางเรามีนักกายภาพบำบัดที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องของการแก้อาการปวดไหล่ขวา ต้นคอ อย่างมืออาชีพ หากใครสนใจสามารถโทรเข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ BECOS : บริการจัดส่งนักกายภาพบำบัด ไปที่บ้านเเละองค์กร
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ปวดคอ บ่า ไหล่ กินยาอะไร
รับประทานยากลุ่มแก้ปวดอักเสบ หรือ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หากมีอาการปวดมาก ๆ อาจใช้แผ่นบรรเทาอาการปวดหรือยาทาแก้ปวดต่าง ๆ เพื่อช่วยลดอาการปวดเหล่านี้ได้
เอ็นหัวไหล่อักเสบ หายเองได้ไหม
เอ็นหัวไหล่อักเสบ ไม่สามารถหายได้ด้วยตัวเอง หากมีอาการฉีกขาดแล้วปล่อยทิ้งไว้ อาจนำไปสู่ภาวะข้อไหล่เสื่อมจนถึงขั้นต้องผ่าตัด
ปวดไหล่ขวาเป็นโรคอะไร
หากมีอาการปวดไหล่ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางรายมีอาการปวดไหล่เรื้อรังหรือไหล่ติด จนไม่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ ดังนั้นอาจมีภาวะเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด โรคเอ็นกล้ามเนื้อไหล่อักเสบ หรือเป็นภาวะข้อไหล่ติด ดังนั้นหากใครที่มีอาการปวดไหล่ขวาเป็นระยะเวลานาน ๆ ให้รีบเข้าไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด