084-458-4591

ห้ามพลาด! ปวดคอท้ายทอยแก้ได้ง่าย ๆ รู้ก่อนสาย รักษาได้ทัน

เนื้อหาบทความนี้

อาการปวดคอท้ายทอย มักพบในช่วงอายุ 30 ปี ขึ้นไป เพราะเป็นวัยทำงาน จึงทำให้ไม่ค่อยใส่ใจสุขภาพและส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาในการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ จึงทำให้เกิดอาการปวดได้ ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลให้ร่างกายเกิดความเสียหาย ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ง่าย และอาจส่งผลถึงขั้นเป็นโรคภาวะกดทับเส้นประสาทหรือเกิดโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมได้ ดังนั้นควรสังเกตอาการของตนเองและรีบแก้ไขอย่างโดยด่วน

สาเหตุของอาการปวดคอท้ายทอย

หากมีอาการเงยคอแล้วปวดคอ ปวดหัว มักมีสาเหตุมาจากการปวดคอและร้าวขึ้นศีรษะ ซึ่งคนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นอาการของไมเกรน แต่ความจริงแล้วสาเหตุอาจเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณบ่ามีการเกร็งตัว เนื่องจากมีการใช้กล้ามเนื้อบ่ามากจนเกินไป หรือเกิดจากการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือการนั่งผิดท่า ส่งผลให้กล้ามเนื้อบ่าเกิดการเกร็งตัวซ้ำ ๆ จนเกิดจุดกดเจ็บทำให้เกิดอาการปวดคอท้ายทอยและร้าวขึ้นบริเวณศีรษะหรือขมับได้

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ทำให้เกิดอาการปวดคอท้ายทอย

อาการปวดท้ายทอย ต้นคอ เกิดจากการที่ใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเล่นโทรศัพท์ การนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนท่า โดยไม่มีการยืดเส้นสาย ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอท้ายทอย หรือการทำกิจกรรมที่ทำให้มีการก้มคอหรือเงยบ่อย ๆ จะทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการร่วมกับการปวดร้าวลงบ่า หัวไหล่ สะบัก และแขน หรือบางกรณีมีอาการชาที่แขนหรือภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย ทำให้เคลื่อนไหวขยับคอลำบาก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบจากการเสื่อมของกระดูกคอ หรือบางกรณีเกิดจุดกดเจ็บที่บริเวณกล้ามเนื้อต้นคอ ท้ายทอยและบ่า หากใครที่มีอาการปวดร้าวลงแขนหรือมีอาการอ่อนแรงทางเส้นประสาทร่วมด้วย หรือไม่สามารถขยับคอได้ อาการเหล่านี้จะมีหลายกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้อง

อาการปวดเส้นคออื่น ๆ มีอะไรบ้าง

อาการปวดคอท้ายทอยอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังนี้

1. อาการปวดท้ายทอย ต้นคอ

อาจเกิดขึ้นจากเส้นประสาทบริเวณคออักเสบ เนื่องจากสาเหตุการนอนคอตกหมอน หรือการนอนผิดท่า นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะผู้ป่วยเบาหวานจะมีภาวะเส้นประสาทเสื่อม และเกิดอาการอักเสบได้ง่าย

2. ปวดเส้นเอ็นคอขึ้นหัว

มักเกิดจากอาการปวดของระบบกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เช่น ภาวะอักเสบของข้อต่อและหมอนรองกระดูก โรคออฟฟิศซินโดรม ระบบสมอง ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทและไขสันหลัง โดยสาเหตุที่พบบ่อยมาจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น การยกของหนัก การนอนผิดท่า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเสื่อมและอักเสบหรือมีการกดทับเส้นประสาท

3. ปวดคอบ่าไหล่ ปวดหัว

เป็นอาการปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ หรือบริเวณหลัง หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เรื้อรังได้ ซึ่งปัญหาอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและมีอาการตึงเป็นประจำ มักจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง ส่งผลให้มีอาการปวดหัวตามมาได้ ซึ่งบางอาจปวดรุนแรงถึงขั้นกลายเป็นปวดหัวไมเกรน และอาการปวดคอบ่าไหล่ ปวดหัวร่วมกัน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นออฟฟิศซินโดรมได้ในที่สุด

4. ปวดเส้นเอ็นคอข้างซ้าย

หากมีอาการปวดเส้นเอ็นคอข้างซ้ายหรือขวา มักเกิดจากเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณนั้นเกิดการตึงหรืออักเสบ จึงควรปรับเปลี่ยนท่าทางในการนั่งทำงาน อาจเริ่มจากการหยุดพักจากการนั่งท่าเดิม เปลี่ยนท่านั่ง หรือทำการยืดเส้นยืดสาย และเก้าอี้ควรมีพนักพิงและที่วางแขน หรือออกกำลังยืดเหยียดบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลัง หรือหากใครที่ทำตามแล้วไม่หายและยังมีอาการปวดมาก สามารถใช้น้ำอุ่นประคบหรือรับประทานยาแก้ปวดหรือยาต้านการอักเสบเพื่อบรรเทาอาการ

ท่าบริการลดอาการปวดคอท้ายทอย

วิธีแก้ปวดต้นคอ ท้ายทอยเบื้องต้น ให้ใช้ประคบร้อนบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ และท้ายทอย พร้อมกับการบริหารต้นคอร่วมด้วย โดยสามารถทำการบริหารเพื่อลดอาการปวดคอท้ายทอยตามท่าต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. ท่าบริหารปวดคอ

บริการกล้ามเนื้อคอเพื่อบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ที่บริเวณต้นคอ บ่า ไหล่และท้ายทอย โดยเริ่มจากการหน้าตรงและเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอ จากนั้นให้ดึงคางเข้ามาด้านใน ค้างไว้ 5 วินาที เสร็จแล้วให้ผ่อนคลาย และทำแบบเดิมซ้ำ ๆ 4-5 ครั้ง หรือจนกว่าอาการปวดคอจะหาย

2. ท่ายืดปวดคอ

การยืดบริเวณกล้ามเนื้อคอจะช่วยในส่วนของบริเวณกล้ามเนื้อคอด้านข้างและกล้ามเนื้อไหล่ โดยเริ่มจากการนั่งในท่าสบาย ๆ บนพื้นหรือเก้าอี้ แล้วยกแขนข้างใดข้างหนึ่งโอบไปจับที่หูฝั่งตรงข้าม จากนั้นค่อย ๆ เอียงคอไปทางด้านแขนที่เราใช้จับหู จนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อบริเวณคอเริ่มตึง ให้ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที และทำสลับข้างกันไปมา

3. ท่าบริหารปวดต้นคอ

การยืดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ เริ่มจากการเอียงคอไปทางด้านซ้ายหรือด้านขวาจนรู้สึกตึงบริเวณต้นคอ จากนั้นใช้มือข้างนั้น ๆ จับไปที่ศีรษะแล้วกดลงเพื่อช่วยในการยืด ทำค้างไว้ 10-15 วินาที และทำสลับข้างกันไป เพื่อช่วยลดอาการปวดตึงบริเวณต้นคอได้

ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยทันที หากมีอาการปวด หรือหากใครที่อยากกายภาพกล้ามเนื้อในส่วนบริเวณที่ปวดสามารถใช้บริการนักกายภาพบำบัดมากประสบการณ์ได้ที่  BECOS และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ BECOS : บริการจัดส่งนักกายภาพบำบัด ไปที่บ้านเเละองค์กร

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ปวดต้นคอท้ายทอยกินยาอะไร

สามารถหากทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาแก้อักเสบ(กรณีแพทย์สั่งจ่ายเท่านั้น) และควรทานยาแก้ปวดเฉพาะที่มีอาการเท่านั้น ห้ามกินติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจส่งผลเสียต่อตับและไตได้

ปวดท้ายทอยแบบไหนอันตราย

เมื่อรู้สึกว่ามีอาการเจ็บแปล๊บ ๆ เหมือนมีเข็มทิ่ม และมีไข้ร่วมกับอาการปวดหลังหรือปวดคอท้ายทอย กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก และมีอาการปวดท้ายทอยเรื้อรังจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

ปวดคอ ท้ายทอย เกิดจากอะไร

เกิดจากการก้มหรือเงยขณะทำงานหรือการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ๆ  ทำให้ส่งผลต่อกล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดอาการปวดคอท้ายทอยได้ หากมีการพักหรือยืดเส้นยืดสาย อาการเหล่านี้จะหายเองได้