084-458-4591

ภัยร้ายที่ควรระวัง! โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉียบพลัน ALS อันตรายถึงแก่ชีวิต อาการที่ควรสังเกต

เนื้อหาบทความนี้

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงชั่วคราว มักเป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยส่วนมากจะเกิดหลังจากที่ใช้ร่างกายอย่างหนัก ทำให้เกิดความอ่อนเพลีย เช่น ทำงานหนัก หรือออกกำลังกายอย่างหนัก แต่อาการนั้นจะเกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว เมื่อได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอก็จะหายเป็นปกติ แต่หากอาการเรื้อรัง พักแล้วไม่หาย และมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ ลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นั่นคือสัญญาณอันตรายที่เสี่ยงกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉียบพลัน บทความนี้จะมาเล่าให้ฟังว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉียบพลัน หรือ ALS นั้นเกิดจากอะไร และหากเป็นแล้วจะรักษาหายได้หรือไม่ ไปติดตามกันได้เลย

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงคืออะไร

ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ได้ เช่น มือ เท้า แขน ขา เปลือกตา ลิ้น หรือแม้แต่อวัยวะที่อยู่ภายในร่างกายอย่างกะบังลม จึงทำให้ผู้ป่วยหายใจได้ไม่สะดวก และมักเสียชีวิตด้วยอาการระบบหายใจล้มเหลว ซึ่งอันที่จริงแล้วโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ แต่เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้เซลล์ประสาทนำคำสั่งบริเวณไขสันหลังและสมอง ซึ่งปกติจะคอยทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ค่อย ๆ เสื่อมลง เมื่อไม่มีสัญญาณสั่งงาน กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ จึงเสื่อมลงตามไปด้วย ผู้ป่วยจึงไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหว มีอาการอ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ จนใช้การไม่ได้

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉียบพลัน

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลันเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย และจะเริ่มต้นจากอาการเพียงเล็กน้อยไปถึงขั้นรุนแรง โดยผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะมีอาการที่บ่งบอก 3 ระยะ ซึ่งได้แก่

1. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการเริ่มแรก

แขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน เป็นอาการที่สังเกตได้ในระยะเริ่มแรก แต่ผู้ป่วยหลายคนมักละเลย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สูงอายุ จะคิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพราะอายุมาก แต่หากมีอาการซ้ำ ๆ  เช่น ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งขึ้นเหนือศีรษะไม่ได้ กำมือข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ ถือของไม่ได้ เดินสะดุดบ่อย หกล้มบ่อย นั่งแล้วลุกลำบาก ก้าวขาขึ้นบันไดลำบาก ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

2. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ระยะที่สอง

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอ่อนแรงจะเริ่มรุนแรงมากขึ้น โดยพบความผิดปกติที่แขนขาทั้ง 2 ข้าง เริ่มมีภาวะกล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูดอ่อนแรง ทำให้พูดไม่ชัดเหมือนลิ้นแข็ง กลืนอาหารไม่สะดวก และเริ่มมีปัญหาที่ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหอบเหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวกทั้งที่เป็นการทำกิจวัตรประจำวันทั่วไป เช่น เดินขึ้นบันไดชั้นเดียวก็เหนื่อย นั่งกินข้าวก็เหนื่อย เพราะกล้ามเนื้อที่ช่วยเรื่องการหายใจอ่อนแรง บางรายมีปัญหาเวลานอนราบ หายใจติดขัดจนต้องตื่นกลางดึก

3. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวด้วยตัวเองไม่ได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่ได้ใช้การมานานจนแขนขาลีบ กลืนอาหารลำบาก บางรายอาจต้องให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันการสำลัก และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจด้วย

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากอะไร

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลันเกิดจากอะไร ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น พันธุกรรม สภาพแวดล้อม การสัมผัสกับสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง สารโลหะหนัก รังสี การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เป็นต้น สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย แต่โดยส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุมากกว่าคนที่อายุน้อย เฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 40-60 ปี และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉียบพลัน

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉียบพลันนั้นยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉียบพลันจึงเน้นไปที่การรักษาแบบประคับประคอง โดยหลัก ๆ แพทย์จะให้การรักษาด้วยยา ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ

  • ยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาท เช่น Pyridostigmine 
  • ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น Corticosteroid, Azathioprine และ Mycophenolate mofetil

นอกจากนี้สิ่งสำคัญก็คือกำลังใจจากคนรอบข้าง ครอบครัว และญาติของผู้ป่วย ที่จะทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกท้อแท้ และหมั่นดูแลตัวเองให้ดี เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อน เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ รับประทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดที่ไม่ต้องใส่ท่อ เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น เป็นต้น

ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉียบพลัน จะเป็นอันตรายอย่างมาก หากใครที่มีผู้ป่วยภาวะนี้ที่บ้าน สามารให้ทาง BECOS ดูแลได้ เนื่องจากผู้ป่วยประเภทนี้จะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องทำการกายภาพบำบัด หรือทานยาควบคู่กันไป ดังนั้นหากมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง ใครที่มีความสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 099 631 8668 หรือ BECOS : บริการจัดส่งนักกายภาพบำบัด ไปที่บ้านเเละองค์กร

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉียบพลัน

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ห้ามกินอะไร

ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเลือกอาหารที่อ่อนนุ่ม ไม่ต้องเคี้ยวมาก กลืนง่าย และค่อย ๆ ทานคำเล็ก ๆ ช้า ๆ เพื่อป้องกันการสำลัก นอกจากนี้ควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรือน้ำตาลสูง เพื่อไม่ให้น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เพราะกล้ามเนื้อของผู้ป่วยจะไม่สามารถแบกรับน้ำหนักได้ดีเท่าคนปกติ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง รักษาหายไหม

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงให้หายขาด และยังไม่มีวิธีป้องกันโรคนี้ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจึงทำได้เพียงรักษาไปตามอาการ และหมั่นดูแลตัวเองเพื่อชะลอความรุนแรงของโรค เช่น พยายามออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อลีบ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศร้อน ควบคุมความเครียด เป็นต้น