084-458-4591

สาเหตุของอาการขาอ่อนแรงเกิดจากอะไร? บ่งบอกถึงโรคใดบ้าง?

เนื้อหาบทความนี้

อาการขาอ่อนแรง คือ อาการที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถลุกขึ้นเดิน หรือมีการเคลื่อนไหวบริเวณส่วนขาที่ยากลำบาก สาเหตุโดยหลักมาจากปัญหาภาวะหลอดเลือดสมอง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภาวะผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่มีการเคลื่อนไหวน้อย ซึ่งอาการขาอ่อนแรงสามารถทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อขาให้กลับมาเป็นปกติได้ ในบทความนี้จะพาไปรู้จักภาวะกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงเกิดจากอะไร ใครที่เป็นอยู่รักษาหายไหม และมีวิธีป้องกันอย่างไร ตามไปดูกันเลย

ขาอ่อนแรงเกิดจากสาเหตุอะไร?

ขาอ่อนแรงเกิดจากอะไร สาเหตุของอาการแขนขาอ่อนแรงเกิดจากระบบเส้นประสาทของสมองที่มีหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวมีความผิดปกติ และมักจะเริ่มจากมือ แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่ง โดยขาอ่อนแรง อาการจะมีลักษณะยกขาไม่ขึ้น เดินไม่ได้ หรือหากเดินได้จะมีอาการเดินเซ ส่งผลให้อาการหนักและรุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่า อาจเกิดโรคใดโรคหนึ่งที่เป็นอันตราย

อาการขาอ่อนแรงข้างเดียวและขาอ่อนแรง 2 ข้างเกิดจากอะไร?

ขาอ่อนแรงข้างเดียวเกิดจากภาวะอัมพฤกษ์ครึ่งซีก หรือภาวะที่ร่างกายเกิดการสูญเสียการทำงานของแขนและขาข้างเดียวกัน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่พบบ่อยมักมาจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดจากหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงเกิดอาการขาดเลือด ส่งผลให้การทำงานของสมองในส่วนนั้น ๆ มีความผิดปกติและไม่สามารถทำหน้าที่ควบคุมหรือสั่งการได้ หากสมองข้างใดข้างหนึ่งมีความผิดปกติจากเซลล์สมอง จะส่งผลให้การควบคุมการทำงานของสมองฝั่งตรงข้ามมีปัญหา และทำให้การทำงานของร่างกายซีกที่มีปัญหาเกิดการอ่อนแรง ซึ่งอาการขาอ่อนแรงมี 2 กรณีดังนี้

1. ขาอ่อนแรงข้างเดียว

อาการขาอ่อนแรงครึ่งซีกเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง จึงส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ หรือภาวะกล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรง ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการชาร่วมด้วย จึงทำให้เกิดอาการสูญเสียการทรงตัวและมีปัญหาในการเดิน ซึ่งอาการขาอ่อนแรงมีความจำเป็นจะต้องได้รับการกายภาพบำบัด เพื่อช่วยฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อขาให้แข็งแรงขึ้น

2. ขาอ่อนแรง 2 ข้าง

อาการกล้ามเนื้ออ่อนขาแรงอ่อนแรง จะค่อย ๆ เป็นมากขึ้น จนเกิดการลุกลามไปทั้ง 2 ข้าง และนอกจากอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง 2 ข้าง ยังพบว่ามีอาการกล้ามเนื้อขาลีบร่วมด้วย หากผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงและลีบ จะส่งผลให้มีอาการแย่ลง อีกทั้งยังลามไปยังใบหน้า ทำให้ที่พูดไม่ชัด หน้าเบี้ยว กลืนลำบาก และหากอาการรุนแรงจะทำให้กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง จนถึงขั้นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

วิธีป้องกัน ขาอ่อนแรง

การป้องกันไม่ให้เกิดอาการขาชา ขาอ่อนแรง ยังไม่สามารถหาวิธีป้องกันได้โดยตรง แต่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เพราะโรคภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งการดูแลสุขภาพให้มีร่างกายที่แข็งแรงอยู่เป็นประจำ จะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง

ขาอ่อนแรงรักษาอย่างไร

การรักษา ขาอ่อนแรง แพทย์จะให้ยาที่ทำให้กล้ามเนื้อมีแรงเพิ่มมาก และให้ยาปรับภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อที่จะช่วยกดภูมิคุ้มกันที่สร้างมาทำร้ายตัวเอง และไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และทำการกายภาพบำบัดกับนักกายภาพบำบัด หรือพยาบาลมืออาชีพ

กรณีรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน ต้องออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง และควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ตรงตามเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ และที่สำคัญต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้ครบ 5 หมู่

วิธีกายภาพบําบัด ขาอ่อนแรงทำได้ง่าย ๆ 

กายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง โดยการออกกำลังกายเพิ่มกำลังให้กับกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง เช่น ใช้ถุงทรายถ่วงน้ำหนักที่ขา ช่วยเพิ่มแรงต้านให้กับกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและมีแรงเพิ่มมากขึ้น โดยอาจจะให้เริ่มจากน้ำหนักน้อยก่อนและค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักตามความสามารถของแรงขาที่จะยกได้ และไม่ควรหักโหมมากจนเกินไป เพราะการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน จะส่งผลให้ภาวะกล้ามเนื้อเกิดอาการล้าและระบมได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และควรทำการฝึกไปเรื่อย ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อสามารถปรับตัวได้

หากใครที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการกายภาพบำบัดขาอ่อนแรง หรือใครที่มีผู้ป่วยอยู่ที่บ้านแต่ไม่มีความรู้และไม่ค่อยมีเวลา สามารถให้ทาง BECOS ดูแลได้ เนื่องจากทางเรามีนักกายภาพบำบัดมืออาชีพและมากประสบการณ์มากมาย หากใครสนใจสามารถโทรเข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ BECOS : บริการจัดส่งนักกายภาพบำบัด ไปที่บ้านเเละองค์กร

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

แขนขาอ่อนแรงเป็นโรคอะไร

แขนขาอ่อนแรงอาจเกิดจากภาวะสมองขาดเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองตีบตัน และแตกได้ หรือเรียกอีกอย่างว่าโรคหลอดเลือดสมอง (stork) ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรคร้ายแรง เพราะหากเป็นแล้วจะมีโอกาสทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ขาไม่มีแรงกินอะไรดี

ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น นมถั่วเหลือง ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ ข้าวโอ๊ต ปลาแซลมอน เป็นต้น เพราะอาหารจำพวกโปรตีน ไฟเบอร์ และกรดไขมันโอเมก้า 3 จะอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และทำให้มีสุขภาพที่ดี