084-458-4591

อันตรายจากการปวดไหล่ขวา สะบักบ่า รีบรักษาก่อนสาย!

เนื้อหาบทความนี้

อาการปวดบ่า ไหล่ สะบักเป็นระยะเวลานาน ให้รีบเข้าไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ หรือในบางรายอาจมีกระดูกคอเสื่อม และเกิดภาวะการเคลื่อนทับกันของเส้นประสาทร่วมด้วย หากไม่รีบรักษาอาจเกิดอาการเรื้อรังได้ ซึ่งการปวดตึงบริเวณบ่า ร้าวไปยังไหล่และสะบัก เกิดจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตึงและเกิดความผิดปกติ จนทำให้เกิดเป็นจุด trigger point หรือจุดกดเจ็บได้ เพราะถ้ากดที่จุดนี้จะทำให้มีอาการปวดโดยทันที และบางครั้งอาจปวดร้าวหรือรู้สึกชาลงแขนได้  อีกหนึ่งสาเหตุพบว่าเกิดจากความเสื่อมของกระดูกคอ ทำให้ขยับคอลำบาก เพราะการเสื่อมสภาพของข้อต่อที่คอ จึงทำให้มีอาการร้าวได้เช่นกัน

สาเหตุของอาการปวดสะบักไหล่เกิดจากอะไร?

ปวดไหล่ขวา สะบักบ่า มักพบได้บ่อยในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ หรือกลุ่มคนวัยทำงาน โดยมีสาเหตุของการปิดได้อย่าง เช่น กล้ามเนื้อมีปัญหา กระดูกมีปัญหา กระดูกแตกหัก หรือเกิดจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งจะเกี่ยวกับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณไหล่และสะบักบ่า โดยอาการปวดบ่า ไหล่ สะบัก สามารถเกิดได้ทั้ง 2 ข้าง ดังนี้ 

1. ปวดสะบักขวา เกิดจาก

ปวดสะบักขวาข้างเดียว หรืออาการปวดสะบักจม มักเกิดจากสาเหตุของข้อกล้ามเนื้อและ เส้นประสาทบริเวณรอบ ๆ อักเสบ ซึ่งทำให้เกิดพังผืดมายึดเกาะ และไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนหรือสารอาหารไปเลี้ยงยังบริเวณเนื้อเยื่อโดยรอบ จึงทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามมา

2. ปวดสะบักซ้าย เกิดจาก

อาการปวดสะบักข้างซ้าย จะมีอาการคล้ายกับการปวดสะบักขวา เพียงแต่สลับข้างกันเท่านั้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ที่มีการใช้งานมากจนเกินไป หรือการนั่งทำงานในท่าเดิม ๆ ที่ไม่มีการยืดเส้นยืดสาย หรือข้อกล้ามเนื้อและเส้นประสาทอักเสบ

สะบักหลังจม อาการเป็นอย่างไร

อาการสะบักจม เกิดจากกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือมีปัญหาสะบัก ไหล่เคลื่อน หรือข้อไหล่เคลื่อน ซึ่งเป็นภาวะที่ส่วนหัวของกระดูกต้นแขนเคลื่อนออกจากเบ้ากระดูกสะบัก ทำให้ปวดสะบักขวา ร้าวลงแขน  โดยวิธีแก้ปวดสะบักร้าวลงแขนทำได้ดังนี้

  1. ยืดและเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณสะบักและบ่า เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด
  2. กายภาพบำบัดคลายกล้ามเนื้อส่วนหลังและสะบักบ่า เพื่อช่วยให้หายจากอาการปวดได้ง่ายขึ้น
  3. ปรับพฤติกรรมในการนั่งทำงานให้ถูกท่า ไม่นั่งหลังค่อม และไม่ควรนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ

อาการสะบักที่มีการปวดบ่าขวา ต้นคอ ร่วมด้วย

หากมีอาการปวดไหล่ขวา สะบักบ่า หรือปวดคออย่างเดียว​ จะไม่อันตราย เพียงแต่ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเกิดภาวะออฟฟิศซินโดรมหรือหมอนรองกระดูกเสื่อมได้ เพราะโรคออฟฟิศซินโดรมจะส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทำให้เกิดอาการปวดหนักขึ้นหรือถึงขั้นเป็นเรื้อรังได้

อาการปวดสะบักไหล่ที่มีอาการหายใจไม่สะดวก

ปวดสะบักขวา หายใจไม่สะดวก เกิดจากการเกร็งตัวในบริเวณกล้ามเนื้อทรวงทำให้มีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สุด ซึ่งกล้ามเนื้อจะมีการหดและขยายตัวขณะหายใจเข้าออก เมื่อกล้ามเนื้อมัดดังกล่าวมีความตึงเครียด จะทำให้กล้ามเนื้อสูญเสียความยืดหยุ่น และไม่สามารถหดและขยายตัวได้เต็มที่ อีกทั้งอาการปวดสะบักซ้าย หายใจไม่สะดวก ยังมีอาการจุกหลังหรือเกิดการเสียดแทงบริเวณสะบัก ขณะหายใจร่วมด้วย

วิธีรักษาอาการปวดไหล่ขวา สะบักบ่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จะต้องทำการการสลายพังผืดบริเวณไหล่ สะบักและบ่า ซึ่งปัจจุบันมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้แผ่นประคบร้อน การทำกายภาพบำบัด การฝังเข็ม หรือการนวดกดจุด หากผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการปวดได้ไม่นานจะตอบสนองต่อการรักษาได้เป็นอย่างดี เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ ยังเกร็งตัวไม่มาก และปริมาณพังผืดค่อนข้างน้อย แต่หากปล่อยไว้นานไม่ทำการรักษาอาจเกิดอาการปวดเรื้อรังและรักษาได้ยาก

หากใครที่มีอาการปวดไหล่ขวา สะบักบ่าและอยากทำการกายภาพ สามารถใช้บริการนักกายภาพบำบัดจากทาง BECOS เพื่อให้สามารถดูแลและให้ความรู้ในการกายภาพบำบัดได้ หากใครสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ BECOS : บริการจัดส่งนักกายภาพบำบัด ไปที่บ้านเเละองค์กร

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ทำยังไงให้หายปวดสะบัก

สามารถใช้การประคบเย็นบริเวณที่ปวดประมาณ 15 นาที เพื่อช่วยให้ความเจ็บคลายลงได้ และหากมีอาการตึงหรือปวดเมื่อยบริเวณสะบักและหลังร่วมด้วย สามารถใช้การประคบอุ่นหรือทายาบรรเทาอาการปวดเมื่อยและทำการนวดบริเวณนั้น ๆ เพื่อลดอาการตึงลงได้

นั่งยังไงไม่ให้ปวดสะบัก

ให้นั่งให้เต็มก้นและให้สะโพกและหลังพิงพนักเก้าอี้ เพื่อไม่ให้คอ ไหล่ และหลัง ทำงานหนักจนเกินไป  และควรปรับพนักเก้าอี้ให้ตรงประมาณ 100-110 องศา หรือเอนไปด้านหลังเล็กน้อย ไม่นั่งหลังค่อม หรือเอนมาด้านหน้าจนเกินไป และปรับระดับเก้าอี้เพื่อให้เท้าวางถึงพื้นได้พอดี ไม่ต่ำและไม่สูงจนเกินไป ปรับที่วางแขนให้ขนานกับโต๊ะทำงานเพื่อไม่ให้ไหล่และข้อมือเกร็ง หรือหากใครที่ไม่มีเก้าอี้นั่งทำงาน ให้หาหมอนหรือผ้าพับหนา ๆ เพื่อหนุนหลังด้านล่างบริเวณเอว ช่วยลดอาการปวดได้อย่างดีเยี่ยม