084-458-4591

พาส่องอุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัดมีอะไรบ้าง แต่ละแบบเหมาะกับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุประเภทใด

เนื้อหาบทความนี้

ในปัจจุบันผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองหรือมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถเดินเองได้ จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัดซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเครื่องช่วยเดิน นวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยประคองผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยให้ทรงตัวและค่อย ๆ เดินเองได้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุในลักษณะต่าง ๆ ใครที่กำลังมีแพลนจะซื้ออุปกรณ์ช่วยเดินต้องไม่พลาดกับข้อมูลในบทความนี้ 

อุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัดคืออะไร

อุปกรณ์ช่วยเดินหรืออุปกรณ์ช่วยพยุงตัวเป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติซึ่งจะมีความแตกต่างกันไป และเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้กับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องในการเดิน หรือผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุเดินไม่ได้ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้

วัตถุประสงค์ของเครื่องช่วยพยุง ฝึกยืน-หัดเดิน

 อุปกรณ์ช่วยกายภาพสำหรับผู้ป่วยฝึกเดินและยังเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการกายภาพบำบัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเดินเองได้โดยไม่ต้องมีคนคอยช่วยเหลือ และอุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัดยังใช้ในการฝึกลงน้ำหนักสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการเกร็ง หรือใช้เริ่มต้นในการหัดเดิน ซึ่งเครื่องช่วยพยุงฝึกยืน-หัดเดินเหมาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องการฟื้นฟูกล้ามเนื้อเพื่อให้สามารถกลับมาเดินได้ปกติหรือกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นอีกครั้ง

อุปกรณ์ช่วยเดินแบ่งเป็นกี่ประเภท

เครื่องช่วยเดินสำหรับผู้ป่วยมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะใช้กับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีลักษณะอาการแตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้

1. อุปกรณ์ช่วยเดิน walker

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครื่องช่วยพยุงฝึกยืน-หัดเดินแบบ 4 ขา ไม่มีล้อ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หมดห่วงในเรื่องของการลงน้ำหนัก ซึ่งอุปกรณ์ช่วยเดิน walker ตัวนี้สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก เพราะมีโครงสร้างที่แข็งแรง และยังเป็นอุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัดที่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย

2. อุปกรณ์ช่วยเดิน Wheeled walker

เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ อีกทั้งยังสามารถใช้งานสะดวกสบาย เป็นแบบล้อเคลื่อน ไม่ต้องยกให้เปลืองแรง และยังมีความปลอดภัยและใช้งานสะดวก

3. อุปกรณ์ช่วยพยุงตัว Crutches หรือไม้ค้ำยัน

ไม้ค้ำยันเป็นอุปกรณ์พยุงสำหรับผู้ป่วยที่ลงน้ำหนักของขาได้ไม่เต็มที่ อาจเนื่องมาจากการได้รับอุบัติเหตุต้องเข้าเฝือก กระดูกขาหัก ข้อเท้าแพลงหรือผู้พิการที่สูญเสียขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เป็นต้น

4. อุปกรณ์ช่วยเดิน Canes หรือ ไม้เท้า

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเดินหรือการทรงตัว สามารถเพิ่มความมั่นคงให้กับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ และยังสามารถรับน้ำหนักตัวได้บางส่วน ไม้เท้าหรืออุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัดเหมาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ปวดสะโพก หรือผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 อุปกรณ์ช่วยเดินผู้สูงอายุมีประโยชน์อย่างไร

อุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัดมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นคืออุปกรณ์ช่วยเดินทุกประเภท จะช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสามารถเดินได้ หรือช่วยให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากยิ่งขึ้น หากใครที่มีปัญหาเรื่องของการเดิน หรือเดินลำบาก จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเพื่อช่วยพยุงให้เดินได้ดียิ่งขึ้น

วิธีการเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัด

การเลือกอุปกรณ์ช่วยพยุงตัวควรเลือกที่มีความเหมาะสมต่ออาการของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ เช่น

  1. ควรเลือกอุปกรณ์ช่วยเดิน walker ให้กับผู้สูงอายุและผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากกว่าไม้ค้ำยัน เนื่องจากไม้ค้ำยันจะต้องใช้กำลังให้การช่วยพยุงตนเอง ดังนั้นควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดินแบบ 4 ขาจึงจะเหมาะสมที่สุด
  2. หากผู้สูงอายุที่บ้านไม่สามารถช่วยเหลือตนเองหรือไม่สามารถมีแรงเดินได้ ควรเลือกใช้รถเข็นช่วยเดินแบบมีล้อ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ การลื่นล้ม อีกทั้งยังมีความปลอดภัยสูง เพราะมีเบรกคอยซัปพอร์ต ไม่ต้องกลัวว่าล้อจะไหล และยังง่ายต่อการใช้งาน ควบคุมไม่ยาก เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีแรงโดยเฉพาะ

หากใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของอุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัด แนะนำให้ปรึกษาได้กับทาง BECOS เนื่องจากจะมีนักกายภาพบำบัดที่มีความรู้รอบด้านแล้ว ยังสามารถแนะนำการใช้อย่างถูกวิธี ซึ่งอุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัดจะมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน หรือหากใครที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่เบอร์ 099 631 8668 หรือ BECOS : บริการจัดส่งนักกายภาพบำบัดไปที่บ้านเเละองค์กร

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอุปกรณ์ช่วยเดินกายภาพบำบัด

การช่วยเหลือผู้ป่วยเดินโดยใช้ไม้เท้าควรปฏิบัติอย่างไร

หากใครที่มีผู้ป่วยเดินไม่ได้ที่บ้านหรือผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ในช่วงแรก ๆ อาจจะต้องช่วยประคองเพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุคุ้นเคยกับการใช้งาน และช่วยลดแรงโน้มถ่วง ไม่ให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุใช้แรงมากจนเกินไป เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ เพราะในช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยเพิ่งมีอาการ จะยังไม่มีแรงมากพอที่จะช่วยเหลือตนเองได้ แต่หลังจากการใช้งานไปได้สักระยะ จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเคยชินในการใช้งาน และทำให้ใช้งานได้สะดวกและคล่องขึ้น

Walker ใช้ยังไง

1. ปรับระดับความสูงให้พอเหมาะและง่ายต่อการใช้งานในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย
2. ทำการจับราวของ Walker อย่างมั่นคง และยกไปด้านหน้า จากนั้นค่อย ๆ ก้าวขาข้างที่มีแรงมากกว่าตามไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ หลังจากนั้นให้ก้าวขาข้างที่มีแรงน้อยกว่าตาม
3. ค่อย ๆ ฝึกจนกล้ามบริเวณที่มีอาการ เช่น ขา เข่า หรือสะโพก ให้กล้ามเนื้อมีความเคยชิน