084-458-4591

วิธีเลือกคลินิกกายภาพที่ไหนดี รักษาได้อย่างตรงจุด มีอะไรบ้าง

เนื้อหาบทความนี้

คลินิกกายภาพบำบัด เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการรักษาและฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาเป็นปกติโดยไม่ต้องใช้ยา ซึ่งหลายคนมักจะเข้าใจว่าการกายภาพ คือการออกกำลังกายหรือบริหารส่วนต่างๆ แต่อันที่จริงแล้วคลินิกกายภาพมีแนวทางการรักษาที่หลากหลายกว่านั้น เช่น การประคบ การนวด การใช้ความร้อนและความเย็น การใช้คลื่นไฟฟ้า เป็นต้น บทความนี้จึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับคลินิกกายภาพบำบัดกันให้มากขึ้น เพื่อที่จะเลือกใช้บริการได้อย่างเหมาะสมและรักษาได้ตรงจุด 

ทำความรู้จักคลินิกกายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพ คือสถานที่ให้การดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยอาศัยเครื่องมือเฉพาะทางต่างๆ เข้ามาช่วย และดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่า นักกายภาพบำบัด หรือเรียกสั้นๆ ว่า PT ที่ย่อมาจาก Physical Therapist นั่นเอง ซึ่งนักกายภาพก็จะนำข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงประวัติการรักษา มาวิเคราะห์ และใช้เป็นแนวทางในการวางโปรแกรมกายภาพบำบัดให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน

คลินิกกายภาพบำบัดให้การรักษาอย่างตรงจุด

หากใครที่มีอาการปวดหลัง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง เดินผิดปกติ เคลื่อนไหวไม่สะดวก หรือมีอาการบาดเจ็บจากการทำกิจกรรมต่างๆ สามารถเข้าไปขอคำปรึกษา และตรวจวินิจฉัย เพื่อให้นักกายภาพบำบัดช่วยประเมินแผนการรักษาเบื้องต้น โดยการรักษา คลินิกกายภาพ สามารถให้การรักษาโดยวิธีดังต่อไปนี้ 

  • การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรง
  • การประคบร้อน ประคบเย็น 
  • การดัดและดึงข้อต่อ 
  • การนวดและกดจุด
  • การจัดกระดูก
  • กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrical Stimulation)
  • รักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง (Ultrasound therapy)

กายภาพบำบัด มีกี่ประเภท

หากแบ่งตามกลุ่มผู้เข้ารับบริการ การกายภาพบำบัดจะสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทดังนี้

1. กายภาพบำบัดกล้ามเนื้อ

ค่อนข้างได้รับความนิยมมาก เนื่องจากในปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อจากการทำกิจกรรม เล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง การกายภาพจะช่วยลดอาการปวด และเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ จนสามารถกลับมาเคลื่อนไหวร่างกายได้เป็นปกติ

2. กายภาพบำบัดระบบประสาท

นิยมใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว อันเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้มีอาการอัมพาตครึ่งซีกหรืออัมพาตทั้งตัว ผู้ป่วยพาร์กินสัน ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดเส้นประสาท คนกลุ่มนี้ต้องได้รับการฟื้นฟูกล้ามเนื้อเป็นหลัก เพื่อให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ โดยอาจจะทำกายภาพด้วยการออกกำลังกาย ฝึกการทรงตัว หรือกระตุ้นด้วยเครื่องไฟฟ้า เป็นต้น 

3. กายภาพบำบัดระบบหายใจ หัวใจ และหลอดเลือด

เป็นการกายภาพกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการหายใจ รวมถึงมีความผิดปกติของหัวใจ เช่น ผู้ป่วยปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ หรือสวนขยายหลอดเลือด เป็นต้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการฟื้นฟูให้เร็วที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ โดยจะมีการฝึกหายใจ ใช้เครื่องบริหารปอด การเคาะและสั่นปอด เป็นต้น

4. กายภาพบำบัดในเด็ก

การกายภาพในเด็กมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยแก้ปัญหาความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่สมวัย โดยส่วนใหญ่จะใช้กับกลุ่มที่มีความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น สมองพิการ ดาวน์ซินโดรม หัวโต กล้ามเนื้อลีบ มีพัฒนาการล่าช้า การกายภาพบำบัดจะมุ่งเน้นไปที่การฝึกทรงตัว นั่ง ยืน เดิน หรือกิจวัตรต่างๆ เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้

5. กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมักมีปัญหาในการเคลื่อนไหว และโรคต่างๆ ที่เกิดจากการเสื่อมของอวัยวะที่ใช้งานมานาน เช่น โรคข้ออักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคอัลไซเมอร์ ผู้สูงอายุที่ผ่าตัดสะโพก ใส่ข้อเข่าเทียม สูญเสียการทรงตัว ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ เป็นต้น การกายภาพบำบัดจึงมีเป้าหมายเพื่อชะลอการเสื่อมของร่างกาย และฟื้นคืนความแข็งแรงให้ผู้สูงอายุรู้สึกมั่นใจ และปลอดภัยในการดำเนินชีวิต

อุปกรณ์ช่วยในการกายภาพบำบัดในคลินิก

อุปกรณ์ช่วยในการกายภาพบำบัดในคลินิก มีหลายประเภท และปัจจุบันก็มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย โดยจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 

  • อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าลดอาการปวด (TENS) เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrical Stimulation) เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound therapy) เครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Stimulator) การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave Therapy) เครื่องเลเซอร์ความถี่สูง (High Power Laser Therapy) เป็นต้น
  • อุปกรณ์ที่ใช้ออกกำลัง เช่น จักรยานขา เครื่องแขวนออกกำลังกาย เครื่องช่วยพยุงน้ำหนักตัว โครงเหล็กช่วยเดิน วงล้อบริหารหัวไหล่ ลูกบอลออกกำลังกาย แผ่นยางยืด ดัมเบลล์ เป็นต้น

คลินิกกายภาพ ราคาเท่าไหร่

ค่าบริการในคลินิกกายภาพขึ้นอยู่กับรูปแบบการรักษา ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 100-300 บาทต่อครั้ง ต่ออุปกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องทำต่อเนื่องหลายครั้ง และใช้หลายอุปกรณ์ควบคู่กัน จึงมักมีการจัดโปรแกรมการรักษาแบบ 5-10 ครั้ง ราคาอยู่ที่หลักพันแต่ก็ถือว่าถูกกว่าการจ่ายเป็นรายครั้ง 

คลินิกกายภาพบำบัดเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถฟื้นฟูผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคออฟฟิศซินโดรม หรือโรงอื่น ๆ ที่ต้องใช้การกายภาพบำบัด ซึ่งทางคลินิกจะมีอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยนั้น ๆ และยังเข้าใจปัญหาที่แท้จริง อีกทั้งยังช่วยรักษาได้อย่างตรงจุด หากใครที่กำลังมองหาคลินิกกายภาพบำบัด เราขอแนะนำ BECOS เพราะที่นี่มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านกายภาพบำบัดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านอื่น ๆ หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 099 631 8668 หรือ Facebook  ได้เลยค่ะ

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับคลินิกกายภาพ

กายภาพบำบัด เหมาะกับใคร

กายภาพบำบัดเหมาะสำหรับทุกคนที่มีปัญหาทางกายภาพที่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต ตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเข่า ปวดหลัง ออฟฟิศซินโดรม ไปจนถึงผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ ได้รับผลกระทบจากโรค หรือการผ่าตัด เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาจมีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือผู้ป่วยที่ผ่าตัดและต้องพักฟื้นนาน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อต่อยึด การทำกายภาพบำบัดก็จะช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาเป็นปกติได้